เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] 4. สัญญาปนียาทิ
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะกลัว
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะกลัว ฯลฯ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะกลัว
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะกลัว
ภิกษุชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะกลัว ด้วยอาการอย่างนี้

นิคมคาถา
ผู้ใดไม่ประพฤติล่วงธรรมเพราะชอบ เพราะชัง
เพราะกลัว เพราะหลง ยศของผู้นั้นย่อมเต็มเปี่ยม
เหมือนดวงจันทร์ในวันข้างขึ้น ฉะนั้น

4. สัญญาปนียาทิ
ว่าด้วยการชี้แจง เป็นต้น
[387] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง ฯลฯ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง
ภิกษุชื่อว่าชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง ด้วยอาการอย่างนี้

ว่าด้วยการพิจารณา
[388] ถาม : อย่างไรชื่อว่า พิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าพิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าพิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :563 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] 4. สัญญาปนียาทิ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าพิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าพิจารณาในฐานะที่
ควรพิจารณา
ภิกษุชื่อว่าพิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา ด้วยอาการอย่างนี้

ว่าด้วยการเพ่งเล็ง
[389] ถาม : อย่างไรชื่อว่า เพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าเพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าเพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง ฯลฯ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าเพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าเพ่งเล็งในฐานะที่ควร
เพ่งเล็ง
ภิกษุชื่อว่าเพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง ด้วยอาการอย่างนี้

ว่าด้วยการเลื่อมใส
[390] ถาม : อย่างไรชื่อว่า เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าเลื่อมใสในฐานะที่ควร
เลื่อมใส
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส ฯลฯ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าเลื่อมใสในฐานะที่ควร
เลื่อมใส
ภิกษุชื่อว่าเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส ด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :564 }