เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] 3. อคติอคมนะ
3. อคติอคมนะ
ว่าด้วยการไม่ลำเอียง

ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
[383] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงสิ่งมิใช่วินัยว่ามิใช่วินัย ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงวินัยว่าเป็นวินัย ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ไม่ได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้
ไม่ได้ตรัสไว้ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ภาษิตไว้ได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้
ตรัสไว้ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงจริยาวัตรที่พระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติว่า พระตถาคตไม่ได้ทรง
ประพฤติมา ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงจริยาวัตรที่พระตถาคตได้ทรงประพฤติว่า พระตถาคตได้ทรงประพฤติมา
ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้
ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตได้ทรงบัญญัติไว้
ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงอนาบัติว่าเป็นอนาบัติ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงอาบัติว่าเป็นอาบัติ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงอาบัติเบาว่าเป็นอาบัติเบา ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
แสดงอาบัติหนักว่าเป็นอาบัติหนัก ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :561 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] 3. อคติอคมนะ
เมื่อแสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ชื่อว่าไม่ลำเอียง
เพราะชอบ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
ภิกษุชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ ด้วยอาการอย่างนี้

ไม่ลำเอียงเพราะชัง
[384] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ไม่ลำเอียงเพราะชัง
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชัง
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชัง ฯลฯ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชัง
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชัง
ภิกษุชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชัง ด้วยอาการอย่างนี้

ไม่ลำเอียงเพราะหลง
[385] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ไม่ลำเอียงเพราะหลง
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะหลง
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะหลง ฯลฯ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะหลง
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะหลง
ภิกษุชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะหลง ด้วยอาการอย่างนี้

ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
[385] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ไม่ลำเอียงเพราะกลัว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :562 }