เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] 2. อคติอคันตัพพะ
4. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
5. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
6. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
7. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
8. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอ
ของเรา
9. ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
ภิกษุอาฆาต ปองร้าย ขุ่นเคือง ถูกความโกรธครอบงำด้วยวัตถุอาฆาต 9 อย่างนี้
ย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ฯลฯ แสดงอาบัติชั่วหยาบ
ว่าต้องอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าต้องอาบัติชั่วหยาบ
ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะชังด้วยวัตถุ 18 อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชน
หมู่มาก เพื่อความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความพินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อความ
ไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะชังด้วย
วัตถุ 18 อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้เป็นผู้ถูกขุด ถูกกำจัด เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ
อันวิญญูชนพึงตำหนิ และย่อมประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะชัง
ย่อมลำเอียงเพราะชังอย่างนี้

ไม่ลำเอียงเพราะหลง
[381] คำว่า ไม่พึงลำเอียงเพราะหลง นั้น คือ ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะหลง
อย่างไรจึงชื่อว่าลำเอียงเพราะหลง ภิกษุเป็นผู้กำหนัดย่อมลำเอียงด้วยอำนาจความ
กำหนัด เป็นผู้ขุ่นเคืองย่อมลำเอียงด้วยอำนาจความขุ่นเคือง เป็นผู้หลงย่อมลำเอียง
ด้วยอำนาจความหลง เป็นผู้ถูกทิฏฐิลูบคลำย่อมลำเอียงด้วยอำนาจทิฏฐิ ภิกษุเป็นผู้
หลงงมงาย อันความหลงครอบงำ ย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม แสดงธรรมว่าเป็น
อธรรม ฯลฯ แสดงอาบัติชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ภิกษุผู้ลำเอียง เพราะหลงด้วยวัตถุ 18 อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :559 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] 2. อคติอคันตัพพะ
เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความพินาศแก่ชน
หมู่มาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะหลงด้วยวัตถุ 18 อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้เป็นผู้ถูกขุด
ถูกกำจัด เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ อันวิญญูชนพึงตำหนิ และย่อมประสบสิ่งมิใช่บุญ
เป็นอันมาก ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะหลง ย่อมลำเอียงเพราะหลงอย่างนี้

ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
[382] คำว่า ไม่พึงลำเอียงเพราะกลัว นั้น คือ ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะกลัว
อย่างไรจึงชื่อว่าลำเอียงเพราะกลัว ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ คิดว่า ผู้นี้อาศัยความ
ประพฤติไม่เรียบร้อย อาศัยความยึดถือ อาศัยพรรคพวกมีกำลัง เป็นผู้ร้ายกาจ
หยาบคาย จักทำอันตรายแก่ชีวิต หรืออันตรายแก่พรหมจรรย์ ดังนี้ จึงกลัวภัยจาก
ผู้นั้น ย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ฯลฯ แสดงอาบัติชั่ว
หยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ
ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะกลัวด้วยวัตถุ 18 อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชน
หมู่มาก เพื่อความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความพินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อความ
ไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะกลัวด้วย
วัตถุ 18 อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้เป็นผู้ถูกขุด ถูกกำจัด เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ
อันวิญญูชนพึงตำหนิและย่อมประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะกลัว
ย่อมลำเอียงเพราะกลัวอย่างนี้

นิคมคาถา
ผู้ใดประพฤติล่วงธรรมเพราะชอบ เพราะชัง
เพราะกลัว เพราะหลง ยศของผู้นั้น ย่อมเสื่อม
เหมือนดวงจันทร์ในวันข้างแรม ฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :560 }