เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] 2. อคติอคันตัพพะ
ว่าด้วยการรู้สมถะ
[378] คำว่า พึงรู้สมถะ นั้น คือ พึงรู้สมถะ 7 คือ (1) สัมมุขาวินัย
(2) เยภุยยสิกา (3) สติวินัย (4) อมูฬหวินัย (5) ปฏิญญาตกรณะ
(6) ตัสสปาปิยสิกา (7) ติณวัตถารกะ

2. อคติอคันตัพพะ
ว่าด้วยภิกษุไม่พึงลำเอียง
ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
[379] คำว่า ไม่พึงลำเอียงเพราะชอบ นั้น คือ ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะชอบ
อย่างไรจึงชื่อว่าลำเอียงเพราะชอบ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ คิดว่า ท่านผู้นี้เป็น
อุปัชฌาย์ เป็นอาจารย์ เป็นสัทธิวิหาริก เป็นอันเตวาสิก เป็นผู้ร่วมอุปัชฌาย์
เป็นผู้ร่วมอาจารย์ เป็นผู้เคยเห็นกันมา เป็นผู้เคยร่วมคบกันมา หรือเป็นญาติ
สาโลหิตของเรา ดังนี้แล้ว เพื่ออนุเคราะห์ผู้นั้น เพื่อตามอารักขาท่านผู้นั้น จึง
1. แสดงอธรรมว่า เป็นธรรม
2. แสดงธรรมว่า เป็นอธรรม
3. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า เป็นวินัย
4. แสดงวินัยว่า เป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
5. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตได้
ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้
6. แสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตมิได้ภาษิตไว้
มิได้ตรัสไว้
7. แสดงจริยาวัตรที่พระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมาว่า พระตถาคตได้
ทรงประพฤติมา
8. แสดงจริยาวัตรที่พระตถาคตได้ทรงประพฤติมาว่า พระตถาคตไม่ได้
ทรงประพฤติมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :557 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] 2. อคติอคันตัพพะ
9. แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตได้ทรงบัญญัติ
10. แสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตไม่ได้ทรง
บัญญัติไว้
11. แสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ
12. แสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ
13. แสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก
14. แสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา
15. แสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ
16. แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติที่มีส่วนเหลือ
17. แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
18. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ
ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะชอบด้วยวัตถุ 18 อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่
ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความพินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อ
ความไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะ
ชอบด้วยวัตถุ 18 อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้เป็นผู้ถูกขุด ถูกกำจัด เป็นผู้ประกอบ
ด้วยโทษ อันวิญญูชนพึงตำหนิ และย่อมประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก ภิกษุผู้
ลำเอียงเพราะชอบ ย่อมลำเอียงเพราะชอบอย่างนี้

ว่าด้วยไม่ลำเอียงเพราะชัง1
[380] คำว่า ไม่พึงลำเอียงเพราะชัง นั้น คือ ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะชัง
อย่างไรจึงชื่อว่าลำเอียงเพราะชัง ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ผูกอาฆาตว่า
1. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
2. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
3. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา

เชิงอรรถ :
1 ที.ปา. (แปล) 11/340/352, องฺ.นวก. (แปล) 23/29/491, องฺ.ทสก. (แปล) 24/79/177, อภิ.วิ.
(แปล) 35/967/619

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :558 }