เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] 1. โวหรันเตนชานิตัพพาทิ
ว่าด้วยการรู้คำต้นและคำหลัง
[374] คำว่า พึงรู้คำต้นและคำหลัง นั้น คือ พึงรู้คำต้นและคำหลังอย่างนี้ว่า
ท่านผู้นี้ย้ายวัตถุจากวัตถุ ย้ายวิบัติจากวิบัติ ย้ายอาบัติจากอาบัติ ปฏิเสธแล้วกลับ
ปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วกลับปฏิเสธ หรือสับเรื่องอื่นด้วยเรื่องอื่น หรือไม่หนอ

ว่าด้วยการรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ
[375] คำว่า พึงรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ นั้น คือ พึงรู้เมถุนธรรม พึง
รู้ข้ออนุโลมแก่เมถุนธรรม พึงรู้บุพพภาคแห่งเมถุนธรรม
ข้อว่า พึงรู้เมถุนธรรม นั้น คือ พึงรู้กิจที่กระทำกันสองต่อสอง
ข้อว่า พึงรู้ข้ออนุโลมแก่เมถุนธรรม นั้น คือ (พึงรู้เรื่อง)ภิกษุอมองคชาตของ
ภิกษุอื่นด้วยปากของตน
ข้อว่า พึงรู้บุพพภาคแห่งเมถุนธรรม นั้น คือ พึงรู้สีมิใช่สี1 การถูกต้องกาย
วาจาชั่วหยาบ การบำเรอความใคร่ของตน การใช้คำชักชวน2

ว่าด้วยการรู้กรรม
[376] คำว่า พึงรู้กรรม นั้น คือ พึงรู้กรรม 16 อย่าง คือ อปโลกนกรรม
4 ญัตติกรรม 4 ญัตติทุติยกรรม 4 ญัตติจตุตถกรรม 4

ว่าด้วยการรู้อธิกรณ์
[377] คำว่า พึงรู้อธิกรณ์ นั้น คือ พึงรู้อธิกรณ์ 4 คือ (1) วิวาทาธิกรณ์
(2) อนุวาทาธิกรณ์ (3) อาปัตตาธิกรณ์ (4) กิจจาธิกรณ์

เชิงอรรถ :
1 พึงรู้สี คือพึงรู้สีของอสุจิ มิใช่สี คือพึงรู้ว่าไม่เกี่ยวกับสีอสุจิ แต่ภิกษุพยายามเพื่อความหายโรค น้ำอสุจิ
เคลื่อน (วิ.อ. 3/375/507, สารตฺถ.ฏีกา. 3/375/580. ดู วิ.มหา. (แปล) 1/240/255-256 ประกอบ)
2 การใช้คำชักชวน หมายถึงการทำหน้าที่ชักสื่อ (วิ.อ. 3/375/507)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :556 }