เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] 1. โวหรันเตนชานิตัพพาทิ
ว่าด้วยการรู้อาบัติ
[371] คำว่า พึงรู้อาบัติ นั้น คือ พึงรู้อาบัติปาราชิก พึงรู้อาบัติสังฆาทิเสส
พึงรู้อาบัติถุลลัจจัย พึงรู้อาบัติปาจิตตีย์ พึงรู้อาบัติปาฏิเทสนียะ พึงรู้อาบัติทุกกฏ
พึงรู้อาบัติทุพภาสิต

ว่าด้วยการรู้นิทาน
[372] คำว่า พึงรู้นิทาน นั้น คือ พึงรู้นิทานแห่งปาราชิก 8 สิกขาบท
พึงรู้นิทานแห่งสังฆาทิเสส 23 สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งอนิยต 2 สิกขาบท พึงรู้
นิทานแห่งนิสสัคคีย์ 42 สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งปาจิตตีย์ 188 สิกขาบท พึงรู้
นิทานแห่งปาฏิเทสนียะ 12 สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งทุกกฏ พึงรู้นิทานแห่ง
ทุพภาสิต

ว่าด้วยการรู้อาการ
[373] คำว่า พึงรู้อาการ นั้น คือ พึงรู้สงฆ์โดยอาการ พึงรู้คณะโดยอาการ
พึงรู้บุคคลโดยอาการ พึงรู้โจทก์โดยอาการ พึงรู้จำเลยโดยอาการ
ข้อว่า พึงรู้สงฆ์โดยอาการ นั้น คือ พึงรู้สงฆ์โดยอาการอย่างนี้ว่า สงฆ์หมู่นี้
จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ
ข้อว่า พึงรู้คณะโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้คณะโดยอาการอย่างนี้ว่า คณะนี้จะ
สามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ
ข้อว่า พึงรู้บุคคลโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้บุคคลโดยอาการอย่างนี้ว่า
บุคคลนี้จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ
ข้อว่า พึงรู้โจทก์โดยอาการ นั้น คือ พึงรู้โจทก์โดยอาการอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้
จะตั้งอยู่ในธรรม 5 ประการ แล้วโจทผู้อื่น หรือไม่หนอ
ข้อว่า พึงรู้จำเลยโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จำเลยโดยอาการอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้จะ
ตั้งอยู่ในธรรม 2 ข้อ คือ ให้การตามจริงและไม่โกรธ หรือไม่หนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :555 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] 1. โวหรันเตนชานิตัพพาทิ
ว่าด้วยการรู้คำต้นและคำหลัง
[374] คำว่า พึงรู้คำต้นและคำหลัง นั้น คือ พึงรู้คำต้นและคำหลังอย่างนี้ว่า
ท่านผู้นี้ย้ายวัตถุจากวัตถุ ย้ายวิบัติจากวิบัติ ย้ายอาบัติจากอาบัติ ปฏิเสธแล้วกลับ
ปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วกลับปฏิเสธ หรือสับเรื่องอื่นด้วยเรื่องอื่น หรือไม่หนอ

ว่าด้วยการรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ
[375] คำว่า พึงรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ นั้น คือ พึงรู้เมถุนธรรม พึง
รู้ข้ออนุโลมแก่เมถุนธรรม พึงรู้บุพพภาคแห่งเมถุนธรรม
ข้อว่า พึงรู้เมถุนธรรม นั้น คือ พึงรู้กิจที่กระทำกันสองต่อสอง
ข้อว่า พึงรู้ข้ออนุโลมแก่เมถุนธรรม นั้น คือ (พึงรู้เรื่อง)ภิกษุอมองคชาตของ
ภิกษุอื่นด้วยปากของตน
ข้อว่า พึงรู้บุพพภาคแห่งเมถุนธรรม นั้น คือ พึงรู้สีมิใช่สี1 การถูกต้องกาย
วาจาชั่วหยาบ การบำเรอความใคร่ของตน การใช้คำชักชวน2

ว่าด้วยการรู้กรรม
[376] คำว่า พึงรู้กรรม นั้น คือ พึงรู้กรรม 16 อย่าง คือ อปโลกนกรรม
4 ญัตติกรรม 4 ญัตติทุติยกรรม 4 ญัตติจตุตถกรรม 4

ว่าด้วยการรู้อธิกรณ์
[377] คำว่า พึงรู้อธิกรณ์ นั้น คือ พึงรู้อธิกรณ์ 4 คือ (1) วิวาทาธิกรณ์
(2) อนุวาทาธิกรณ์ (3) อาปัตตาธิกรณ์ (4) กิจจาธิกรณ์

เชิงอรรถ :
1 พึงรู้สี คือพึงรู้สีของอสุจิ มิใช่สี คือพึงรู้ว่าไม่เกี่ยวกับสีอสุจิ แต่ภิกษุพยายามเพื่อความหายโรค น้ำอสุจิ
เคลื่อน (วิ.อ. 3/375/507, สารตฺถ.ฏีกา. 3/375/580. ดู วิ.มหา. (แปล) 1/240/255-256 ประกอบ)
2 การใช้คำชักชวน หมายถึงการทำหน้าที่ชักสื่อ (วิ.อ. 3/375/507)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :556 }