เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [โจทนากัณฑ์] หัวข้อประจำกัณฑ์
โจทก์ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ ไม่ฉลาดในอาบัติและอนาบัติ
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
ไม่ฉลาดในอาบัติเบาและอาบัติหนัก
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนหลือ
ไม่ฉลาดในอาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนหลือ
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ไม่ฉลาดในอาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้คำต้นและคำหลัง ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้ทางถ้อยคำอันต่อเนื่องกัน
ไม่ฉลาดต่อทางถ้อยคำอันต่อเนื่องกัน
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน แล
โจทนากัณฑ์ จบ

หัวข้อประจำกัณฑ์
การโจท ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ เป็นเบื้องต้น มีมูล
อุโบสถ คติ เป็นคำสั่งสอนที่คงอยู่ในโจทนากัณฑ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :549 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [จูฬสงคราม] 1. อนุวิชชกัสสปฏิปัตติ
จูฬสงคราม
ว่าด้วยภิกษุผู้เข้าสู่จูฬสงคราม
1. อนุวิชชกัสสปฏิปัตติ
ว่าด้วยข้อปฏิบัติของภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์
[365] อันภิกษุผู้เข้าสงครามเมื่อเข้าหาสงฆ์พึงเป็นผู้มีจิตยำเกรง มีจิตเสมอด้วย
ผ้าเช็ดธุลี เข้าหาสงฆ์ พึงเป็นผู้รู้จักที่นั่ง รู้จักการนั่งไม่เบียดภิกษุผู้เถระ ไม่เบียด
อาสนะภิกษุผู้อ่อนกว่า พึงนั่งอาสนะตามสมควร ไม่พึงพูดเรื่องต่าง ๆ ไม่พึงพูดเรื่อง
ดิรัจฉานกถา พึงกล่าวธรรมเอง หรือเชื้อเชิญภิกษุรูปอื่น ไม่พึงดูหมิ่นอริยดุษณีภาพ
อันภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ที่สงฆ์อนุมัติแล้ว มีประสงค์จะวินิจฉัยอธิกรณ์ ไม่พึง
ถามถึงอุปัชฌาย์ ไม่พึงถามถึงอาจารย์ ไม่พึงถามถึงสัทธิวิหาริก ไม่พึงถามถึงอันเตวาสิก
ไม่พึงถามถึงภิกษุปูนอุปัชฌาย์ ไม่พึงถามถึงภิกษุปูนอาจารย์ ไม่พึงถามถึงชาติ
ไม่พึงถามถึงชื่อ ไม่พึงถามถึงโคตร ไม่พึงถามถึงอาคม ไม่พึงถามถึงชั้นแห่งตระกูล
ไม่พึงถามถึงชาติภูมิ เพราะเหตุไร เพราะความรักหรือความชังจะพึงมีในบุคคลนั้น
เมื่อมีความรักหรือความชัง พึงลำเอียงเพราะความชอบบ้าง พึงลำเอียงเพราะความ
ชังบ้าง พึงลำเอียงเพราะความหลงบ้าง พึงลำเอียงเพราะความกลัวบ้าง
อันภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ที่สงฆ์อนุมัติแล้ว มีประสงค์จะวินิจฉัยอธิกรณ์ พึงเป็น
ผู้หนักในสงฆ์ ไม่พึงเป็นผู้หนักในบุคคล พึงเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่พึงเป็นผู้
หนักในอามิส พึงเป็นผู้ไปตามอำนาจแห่งคดี ไม่พึงเป็นผู้เห็นแก่บริษัท พึงวินิจฉัย
โดยกาลอันควร ไม่พึงวินิจฉัยโดยกาลไม่ควร พึงวินิจฉัยด้วยคำจริง ไม่พึงวินิจฉัยด้วย
คำไม่จริง พึงวินิจฉัยด้วยคำสุภาพ ไม่พึงวินิจฉัยด้วยคำหยาบ พึงวินิจฉัยด้วยคำ
ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่พึงวินิจฉัยด้วยคำไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พึงเป็นผู้มี
เมตตาจิตวินิจฉัย ไม่พึงเป็นผู้มุ่งร้ายวินิจฉัย ไม่พึงเป็นผู้กระซิบที่หู ไม่พึงคอยจับผิด
ไม่พึงขยิบตา ไม่พึงเลิกคิ้ว ไม่พึงชะเง้อศีรษะ ไม่พึงทำวิการแห่งมือ ไม่พึงใช้มือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :550 }