เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อปรคาถาสังคณิกะ] 1. โจทนาทิปุจฉาวิสัชชนา
สำนวนที่กล่าวโดยผลุนผลันของจำเลยและโจทก์
เธออย่าเชื่อถือ โจทก็ฟ้องว่าต้องอาบัติ
แต่จำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้ต้องอาบัติ เธอต้องสอบสวนทั้งสองฝ่าย
พึงปรับตามคำรับสารภาพ และถ้อยคำสำนวน
คำรับสารภาพ เรากล่าวไว้ในหมู่ลัชชี
แต่ข้อนั้น ไม่มีในหมู่อลัชชี อนึ่ง ภิกษุอลัชชีพูดมาก
เธอพึงปรับตามถ้อยคำสำนวนดังกล่าวแล้ว”

อลัชชีบุคคล
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“อลัชชี เป็นคนเช่นไร คำรับสารภาพของผู้ใดฟังไม่ขึ้น
ข้าพระพุทธเจ้าทูลถามพระองค์ถึงข้อนั้น
คนเช่นไร พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า อลัชชีบุคคล”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ผู้ที่จงใจต้องอาบัติ ปกปิดอาบัติ และถึงความลำเอียง
คนเช่นนี้ เราเรียกว่า อลัชชีบุคคล”

ลัชชีบุคคล
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบแล้วว่า
คนเช่นนี้เป็นอลัชชีบุคคล
ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น
คนเช่นไร พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า ลัชชีบุคคล”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ผู้ที่ไม่จงใจต้องอาบัติ ไม่ปกปิดอาบัติ ไม่ถึงความลำเอียง
คนเช่นนี้ เราเรียกว่า ลัชชีบุคคล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :540 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อปรคาถาสังคณิกะ] 1. โจทนาทิปุจฉาวิสัชชนา
บุคคลผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบแล้วว่า
คนเช่นนี้ตรัสเรียกว่า ลัชชีบุคคล
ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น
คนเช่นไร ตรัสเรียกว่า ผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ภิกษุโจทโดยกาลไม่ควร โจทด้วยเรื่องไม่เป็นจริง โจทด้วยคำหยาบ
โจทด้วยคำไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มุ่งร้ายโจท ไม่มีเมตตาจิตโจท
คนเช่นนี้ เราเรียกว่า ผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม”

บุคคลผู้โจทก์เป็นธรรม
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบแล้วว่า
คนเช่นนี้ตรัสเรียกว่า ผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม
ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น
คนเช่นไร ตรัสเรียกว่า ผู้โจทก์เป็นธรรม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ภิกษุโจทโดยกาล โจทด้วยเรื่องจริง โจทด้วยคำสุภาพ
โจทด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์ มีเมตตาจิต ไม่มุ่งร้ายโจท
คนเช่นนี้ เราเรียกว่า ผู้โจทก์เป็นธรรม”

คนโจทก์ผู้โง่เขลา
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบแล้วว่า
คนเช่นนี้ตรัสเรียกว่า ผู้โจทก์เป็นธรรม
ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น
คนเช่นไร ตรัสเรียกว่า โจทก์ผู้โง่เขลา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :541 }