เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] 10. สัตตสมถนานัตถาทิ
ในข้อนั้น วิวาทอย่างไรไม่จัดเป็นอธิกรณ์ มารดาทะเลาะกับบุตรบ้าง บุตร
ทะเลาะกับมารดาบ้าง บิดาทะเลาะกับบุตรบ้าง บุตรทะเลาะกับบิดาบ้าง พี่ชายทะเลาะ
กับน้องชายบ้าง น้องชายทะเลาะกับพี่สาวบ้าง พี่สาวทะเลาะกับน้องสาวบ้าง เพื่อน
ทะเลาะกับเพื่อนบ้าง วิวาทนี้ไม่เป็นอธิกรณ์
ในข้อนั้น อธิกรณ์อย่างไหนไม่เป็นวิวาท อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์
กิจจาธิกรณ์ อธิกรณ์นี้ไม่เป็นวิวาท
ในข้อนั้น อย่างไหนเป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย วิวาทาธิกรณ์
เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย

อนุวาทาธิกรณ์
[356] การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์ การโจทไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็น
การโจท เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์ก็มี การโจท
ไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็นการโจทก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วยก็มี
ในข้อนั้น การโจทอย่างไรเป็นอนุวาทาธิกรณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมโจทภิกษุ
ด้วยสีลวิบัติหรืออาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติหรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา
การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความพยายามโจท
การให้กำลังสนับสนุนในเรื่องนั้น การโจทนี้เป็นอนุวาทาธิกรณ์
ในข้อนั้น การโจทอย่างไรไม่เป็นอธิกรณ์ มารดาฟ้องบุตรบ้าง บุตรฟ้องมารดาบ้าง
บิดาฟ้องบุตรบ้าง บุตรฟ้องบิดาบ้าง พี่ชายฟ้องน้องชายบ้าง น้องชายฟ้องพี่สาวบ้าง
พี่สาวฟ้องน้องชายบ้าง เพื่อนฟ้องเพื่อนบ้าง การโจทนี้ไม่เป็นอธิกรณ์
ในข้อนั้น อธิกรณ์อย่างไหนไม่เป็นการโจท อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์
วิวาทาธิกรณ์ อธิกรณ์นี้ไม่เป็นการโจท
ในข้อนั้น อย่างไหนเป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย อนุวาทาธิกรณ์ เป็น
อธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :536 }