เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] 10. สัตตสมถนานัตถาทิ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี อมูฬหวินัยก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ปฏิญญาตกรณะก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี เยภุยยสิกาก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ตัสสปาปิยสิกาก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ติณวัตถารกะก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะ
ต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน แต่พยัญชนะต่างกัน
ตอบ : ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี สติวินัยก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะ
ต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน แต่พยัญชนะต่างกัน
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี อมูฬหวินัยก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ปฏิญญาตกรณะก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี เยภุยยสิกาก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ตัสสปาปิยสิกาก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ติณวัตถารกะก็ดี ก็มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะ
ต่างกัน

วิวาทาธิกรณ์
[355] วิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์ วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็นวิวาท เป็น
อธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย วิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์ก็มี วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์
ไม่เป็นวิวาทก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วยก็มี
ในข้อนั้น วิวาทอย่างไรเป็นวิวาทาธิกรณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้วิวาทกันว่า นี้เป็น
ธรรม นี้ไม่เป็นธรรม ฯลฯ
นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท การกล่าวต่างกัน
การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้ม ความหมายมั่นในเรื่องนั้น วิวาท
นี้เป็นวิวาทาธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :535 }