เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] 4. อธิกรณปัจจยาทิปัตติ
2. จบกรรมวาจา 2 ครั้งต้องอาบัติถุลลัจจัย
3. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้ายต้องอาบัติปาราชิก
4. ภิกษุประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่ง
สงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ 3 ครั้ง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
5. ภิกษุไม่ละทิฏฐิบาป จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ 3 ครั้ง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ 5 อย่างนี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ 4 อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดา
อธิกรณ์ 4 อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน บรรดากองอาบัติ 7 กอง จัดเข้า
กองอาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ 6 สมุฏฐานเกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ระงับด้วยอธิกรณ์เท่าไร ในฐานะเท่าไร ด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ 4 อย่าง จัดเป็นวิบัติ 2 อย่าง คือ
(1) สีลวิบัติ (2) อาจารวิบัติ บรรดาอธิกรณ์ 4 อย่าง เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดา
กองอาบัติ 7 กอง จัดเข้ากองอาบัติ 5 กอง คือ (1) กองอาบัติปาราชิก
(2) กองอาบัติสังฆาทิเสส (3) กองอาบัติถุลลัจจัย (4) กองอาบัติปาจิตตีย์
(5) กองอาบัติทุกกฏ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ 6 สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน 1
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ ระงับด้วยอธิกรณ์ไหน
ไม่ได้ ระงับในฐานะไหนไม่ได้ ระงับด้วยสมถะไหนไม่ได้ อาบัติหนักระงับด้วย
อธิกรณ์เดียว คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับในฐานะเดียว คือ ท่ามกลางสงฆ์ ระงับ
ด้วยสมถะ 2 คือ (1) สัมมุขาวินัย (2) ปฏิญญาตกรณะ อาบัติเบาระงับด้วย
อธิกรณ์เดียว คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับใน 3 ฐานะ คือ ในท่ามกลางสงฆ์
ในท่ามกลางคณะ ในสำนักบุคคล ระงับด้วยสมถะ 3 คือ (1) สัมมุขาวินัย
(2) ปฏิญญาตกรณะ (3) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :527 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] 5. อธิกรณาธิปปายะ
5. อธิกรณาธิปปายะ
ว่าด้วยอธิบายอธิกรณ์

วิวาทาธิกรณ์
[348] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ เป็นอนุวาทาธิกรณ์ เป็นอาปัตตาธิกรณ์
เป็นกิจจาธิกรณ์หรือ
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ ไม่เป็นอนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์
แต่เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์
ย่อมมีได้ เปรียบเหมือนอะไร เปรียบเหมือนภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้วิวาทกันว่า
นี้เป็นธรรม นี้เป็นอธรรม ฯลฯ
นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท การกล่าวต่างกัน
การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้ม ความหมายมั่นในเรื่องนั้น
นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์ สงฆ์วิวาทกันในเพราะวิวาทาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์
เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจทย่อมต้องอาบัติ จัดเป็น
อาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์ เพราะวิวาทาธิกรณ์
เป็นปัจจัย อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ ย่อมมีอย่างนี้

อนุวาทาธิกรณ์
ถาม : อนุวาทาธิกรณ์ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ เป็นกิจจาธิกรณ์ เป็นวิวาทาธิ-
กรณ์หรือ
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์ ไม่เป็นอาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ แต่
เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ ย่อม
มีได้ เปรียบเหมือนอะไร เปรียบเหมือนภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วย
สีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :528 }