เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] 4. อธิกรณปัจจยาทิปัตติ
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ 4 อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดา
อธิกรณ์ 4 อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน บรรดากองอาบัติ 7 กอง จัดเข้ากอง
อาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ 6 สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ระงับด้วยอธิกรณ์เท่าไร ในฐานะเท่าไร ด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ 4 อย่าง จัดเป็นวิบัติ 2 อย่าง คือ
(1) สีลวิบัติ (2) อาจารวิบัติ บรรดาอธิกรณ์ 4 เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดา
กองอาบัติ 7 กอง จัดเข้าอาบัติ 4 กอง คือ (1) กองอาบัติปาราชิก
(2) กองอาบัติถุลลัจจัย (3) กองอาบัติปาจิตตีย์ (4) กองอาบัติทุกกฏ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ 6 สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน 1 สมุฏฐาน คือ เกิดทาง
กายวาจากับจิต อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือระงับด้วยอธิกรณ์ไหนไม่ได้ ระงับในฐานะไหน
ไม่ได้ ระงับด้วยสมถะไหนไม่ได้ อาบัติเบาระงับด้วยอธิกรณ์ 1 คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับ
ใน 3 ฐานะ คือ ในท่ามกลางสงฆ์ ในท่ามกลางคณะ ในสำนักบุคคล ระงับด้วยสมถะ
3 คือ (1) สัมมุขาวินัย (2) ปฏิญญาตกรณะ (3) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ

ว่าด้วยกิจจาธิกรณ์เป็นอาบัติหรืออนาบัติ เป็นต้น
[347] ถาม : กิจจาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรืออนาบัติ
ตอบ : กิจจาธิกรณ์ เป็นอนาบัติ
ถาม : ก็เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติหรือ
ตอบ : ถูกแล้ว เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ
ถาม : เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ 5 อย่าง คือ
1. ภิกษุณีผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ไม่ยอมสละ
กรรมจนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ 3 ครั้ง จบญัตติต้องอาบัติ
ทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :526 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] 4. อธิกรณปัจจยาทิปัตติ
2. จบกรรมวาจา 2 ครั้งต้องอาบัติถุลลัจจัย
3. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้ายต้องอาบัติปาราชิก
4. ภิกษุประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่ง
สงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ 3 ครั้ง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
5. ภิกษุไม่ละทิฏฐิบาป จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ 3 ครั้ง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ 5 อย่างนี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ 4 อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดา
อธิกรณ์ 4 อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน บรรดากองอาบัติ 7 กอง จัดเข้า
กองอาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ 6 สมุฏฐานเกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ระงับด้วยอธิกรณ์เท่าไร ในฐานะเท่าไร ด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ 4 อย่าง จัดเป็นวิบัติ 2 อย่าง คือ
(1) สีลวิบัติ (2) อาจารวิบัติ บรรดาอธิกรณ์ 4 อย่าง เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดา
กองอาบัติ 7 กอง จัดเข้ากองอาบัติ 5 กอง คือ (1) กองอาบัติปาราชิก
(2) กองอาบัติสังฆาทิเสส (3) กองอาบัติถุลลัจจัย (4) กองอาบัติปาจิตตีย์
(5) กองอาบัติทุกกฏ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ 6 สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน 1
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ ระงับด้วยอธิกรณ์ไหน
ไม่ได้ ระงับในฐานะไหนไม่ได้ ระงับด้วยสมถะไหนไม่ได้ อาบัติหนักระงับด้วย
อธิกรณ์เดียว คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับในฐานะเดียว คือ ท่ามกลางสงฆ์ ระงับ
ด้วยสมถะ 2 คือ (1) สัมมุขาวินัย (2) ปฏิญญาตกรณะ อาบัติเบาระงับด้วย
อธิกรณ์เดียว คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับใน 3 ฐานะ คือ ในท่ามกลางสงฆ์
ในท่ามกลางคณะ ในสำนักบุคคล ระงับด้วยสมถะ 3 คือ (1) สัมมุขาวินัย
(2) ปฏิญญาตกรณะ (3) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :527 }