เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] 5. ปาราชิกาทิอาปัตติ
เป็นเหตุทำให้จิตลุ่มหลง
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกความละเมิดนั้นว่า ปาจิตตีย์

วิเคราะห์ปาฏิเทสนียะ
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าปาฏิเทสนียะ ตามลำดับ
ภิกษุไม่มีญาติ หาโภชนะมาได้ยาก
รับมาเองแล้วฉัน เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติเตียน
ภิกษุฉันอยู่ในที่นิมนต์ ภิกษุณีบงการอยู่ในสถานที่นิมนต์นั้น
ตามความพอใจ ภิกษุไม่ห้ามแต่กลับฉันอยู่ในที่นั้น
เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติเตียน
ภิกษุไม่อาพาธ ไปสู่ตระกูลที่มีจิตศรัทธา แต่มีโภคทรัพย์น้อย
ผู้ไม่ร่ำรวยแล้วฉันในที่นั้น เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติเตียน
ภิกษุอยู่ในป่าที่น่าหวาดระแวงมีภัยน่ากลัว ฉันอาหารที่เขา
ไม่ได้รับแจ้งไว้ก่อน ในที่นั้น เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติเตียน
ภิกษุณีไม่มีญาติ ขอโภชนะที่ผู้อื่นยึดถือว่าเป็นของเรา คือ
เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด และนมเปรี้ยว
ด้วยตนเอง ชื่อว่า ต้องธรรมที่น่าติเตียนในศาสนาของพระสุคต

วิเคราะห์ทุกกฏ
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าทุกกฏ ตามลำดับ
กรรมที่ผิด พลั้งพลาด จัดเป็นกรรมที่ทำไม่ดี
คนทำความชั่วอันใดไว้ในที่แจ้งหรือในที่ลับ
บัณฑิตทั้งหลายย่อมประกาศความชั่วนั้นว่า ทำชั่ว
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า ทุกกฏ

วิเคราะห์ทุพภาสิต
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าทุพภาสิต ตามลำดับ
บทใดอันภิกษุกล่าวไม่ดี พูดไม่ดี และเสื่อมเสีย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :517 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] 5. ปาราชิกาทิอาปัตติ
ทั้งวิญญูชนทั้งหลายย่อมติเตียนบทใด
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกข้อนั้นว่า ทุพภาสิต

วิเคราะห์เสขิยะ
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าเสขิยะ ตามลำดับ
ข้อนั้นเป็นเบื้องต้น เป็นข้อประพฤติ เป็นทาง
และเป็นข้อสังวรระวังของพระเสขะ ผู้กำลังศึกษา
ผู้ดำเนินไปสู่เส้นทางตรง สิกขาทั้งหลายเช่นนี้ไม่มี
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกข้อนั้นว่า เสขิยะ

อุปมาอาบัติ และอนาบัติ
ยิ่งปิดยิ่งรั่ว เปิดแล้วไม่รั่ว
เพราะฉะนั้น พึงเปิดสิ่งที่ปิด
เมื่อเป็นดังนี้ สิ่งที่เปิดนั้นก็จะไม่รั่ว1
ป่าใหญ่เป็นที่พึ่งของหมู่มฤค อากาศเป็นทางไปของหมู่ปักษี
ความเสื่อมเป็นคติของธรรมทั้งหลาย2
พระนิพพานเป็นภูมิที่ไปของพระอรหันต์
คาถาสังคณิกะ จบ

หัวข้อประจำวาร
สิกขาบทที่ทรงบัญญัติ ณ 7 พระนคร วิบัติ 4 อย่าง
สิกขาบทของภิกษุและภิกษุณีที่ทั่วไป ที่ไม่ทั่วไป
นี้เป็นถ้อยคำที่ประมวลไว้ด้วยคาถา เพื่ออนุเคราะห์พระศาสนา”
คาถาสังคณิกะ จบ

เชิงอรรถ :
1 วิ.จู. (แปล) 7/385/285, ขุ.อุ. (แปล) 25/45/268, ขุ.เถร. (แปล) 26/447/415
2 หมายถึงสังขตธรรมทั้งหลายมีความเสื่อมความพินาศ (วิ.อ. 3/339/486)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :518 }