เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] 5. ปาราชิกาทิอาปัตติ
อาบัติที่ระงับได้
สังฆาทิเสส 23 อนิยต 2 นิสสัคคีย์ 42
ปาจิตตีย์ 188 ปาฏิเทสนียะ 12
เสขิยะ 75 ระงับด้วยสมถะ 3 คือ
(1) สัมมุขาวินัย (2) ปฏิญญาตกรณะ (3) ติณวัตถารกะ

ส่วนที่ทรงจำแนก
อุโบสถ 2 ปวารณา 2 กรรม 4
อันพระชินเจ้าทรงแสดงแล้ว
อุทเทส 5 และอุทเทส 4
ย่อมไม่มีโดยประการอื่น และกองอาบัติ มี 7

อธิกรณ์
อธิกรณ์ 4 ระงับด้วยสมถะ 7 คือ ระงับด้วยสมถะ 2
สมถะ 4 สมถะ 3 แต่กิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ 1”

5. ปาราชิกาทิอาปัตติ
ว่าด้วยอาบัติปาราชิก เป็นต้น

วิเคราะห์ปาราชิก
[339] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าปาราชิก ตามลำดับ
บุคคลเป็นผู้เคลื่อน ผิด พลาด และเหินห่างจากสัทธรรมทั้งหลาย
อนึ่ง แม้สังวาสก็ไม่มีในบุคคลนั้น
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า อาบัติปาราชิก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :515 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] 5. ปาราชิกาทิอาปัตติ
วิเคราะห์สังฆาทิเสส
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าสังฆาทิเสส ตามลำดับ
สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต อัพภาน
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า อาบัติสังฆาทิเสส

วิเคราะห์อนิยต
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าอนิยต ตามลำดับ
กองอาบัติชื่อว่าอนิยต เพราะไม่แน่
ข้อที่เราบัญญัติไว้แล้วโดยมิใช่ส่วนเดียว
ในฐานะทั้ง 3 ฐานะอย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกว่า อนิยต

วิเคราะห์ถุลลัจจัย
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าถุลลัจจัย ตามลำดับ
ภิกษุใดแสดงในภิกษุรูปเดียว
และภิกษุรูปใดรับโทษนั้น โทษเสมอด้วยโทษนั้นไม่มี
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกโทษนั้นว่า ถุลลัจจัย

วิเคราะห์นิสสัคคีย์
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่านิสสัคคีย์ ตามลำดับ
ภิกษุยอมสละและแสดงข้อละเมิดใดพร้อมกันในท่ามกลางสงฆ์
ท่ามกลางคณะ และในสำนักภิกษุหนึ่ง
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกข้อละเมิดนั้นว่า นิสสัคคีย์

วิเคราะห์ปาจิตตีย์
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าปาจิตตีย์ ตามลำดับ
ความละเมิดยังกุศลธรรมให้ตกไป ทำอริยมรรคให้เสียไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :516 }