เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] 2. จตุวิบัติ
สิกขาบทว่าด้วยการทำกล่องเข็ม
สิกขาบทว่าด้วยการอยู่ในเสนาสนะป่า
สิกขาบทว่าด้วยการใช้น้ำชำระ
สิกขาบทว่าด้วยการไม่ไปรับโอวาท เรากล่าวไว้ในหมู่ภิกษุณี
เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ ภัคคชนบท ตามลำดับต่อไป
สิกขาบทว่าด้วยก่อไฟผิง
สิกขาบทว่าด้วยการจับภาชนะน้ำดื่มด้วยมือเปื้อนอามิส
สิกขาบทว่าด้วยการเทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวสุกในละแวกบ้าน
สิกขาบททั้งหลาย คือ ปาราชิก 4 สังฆาทิเสส 7
นิสสัคคีย์ 8 ขุททกะ 32 สิกขาบทที่น่าตำหนิ(ปาฏิเทสนียะ) 2
เสขิยวัตร 3 อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์
บัญญัติ ณ 6 พระนคร รวม 56 สิกขาบท
พระโคดมผู้มีพระยศทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
รวมทั้งหมด 294 สิกขาบท”

2. จตุวิบัติ
ว่าด้วยวิบัติ 4
ทรงพยากรณ์อาบัติหนัก และอาบัติเบา เป็นต้น
[336] พระอุบาลีกราบทูลว่า
“ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ทูลถามปัญหาข้อใดกับพระองค์
พระองค์ได้ตรัสแก้ปัญหาข้อนั้นแก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ทูลถามเรื่องใด ๆ พระองค์ก็ได้ทรงแก้เฉพาะเรื่องนั้น ๆ
โดยมิได้ทรงแก้โดยประการอื่น
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอทูลถามปัญหาข้ออื่นกับพระองค์
ขอพระองค์โปรดตอบปัญหาข้อนั้นต่อไป
คือ อาบัติหนัก อาบัติเบา อาบัติที่มีส่วนเหลือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :509 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] 2. จตุวิบัติ
อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ อาบัติชั่วหยาบ อาบัติที่ไม่ชั่วหยาบ
สิกขาบทเป็นยาวตติยกะ สิกขาบททั่วไป สิกขาบทไม่ทั่วไป
สิกขาบทที่จำแนกไว้ระงับด้วยสมถะ 1
ขอพระองค์ได้โปรดชี้แจงเรื่องนั้นแม้ทั้งหมดเถิด
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะฟังพระดำรัสของพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“อาบัติหนักมี 31 ในอาบัติหนักเหล่านั้น
อาบัติไม่มีส่วนเหลือมี 8 อาบัติหนักจัดเป็นอาบัติชั่วหยาบ
อาบัติชั่วหยาบจัดเป็นสีลวิบัติ

สีลวิบัติ และอาจารวิบัติ
ปาราชิก สังฆาทิเสส เรียกว่า สีลวิบัติ ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์
ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต คือ ด่าด้วยประสงค์จะล้อเล่น
อาบัตินี้นั้น รวมเรียกว่า อาจารวิบัติ

ทิฏฐิวิบัติ
บุคคลมีปัญญาเขลาทั้งหลาย ถูกโมหะครอบงำ
ถูกอสัทธรรมรุมล้อม ยึดถือความเห็นวิปริต
กล่าวตู่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้นั้น รวมเรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ

อาชีววิบัติ
ภิกษุมีความปรารถนาชั่ว ถูกความอยากครอบงำ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม
ที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง เพราะเหตุแห่งอาชีวะ1 เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุทำหน้าที่
ชักสื่อ เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุกล่าวว่า ภิกษุรูปใด

เชิงอรรถ :
1 เพราะเหตุแห่งอาชีวะ คือมุ่งเลี้ยงชีวิต (วิสุทฺธิ.มหา.ฏีกา 1/116/61)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :510 }