เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 5. ปัญจกวาร
ว่าด้วยวิสุทธิ 5
วิสุทธิมี 5 แบบ คือ
1. ยกนิทานขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็น
วิสุทธิแบบที่ 1
2. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก 4 ขึ้นแสดงจบแล้วพึงสวดอุทเทส
ที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ 2
3. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก 4 ขึ้นแสดง ยกสังฆาทิเสส 13 ขึ้น
แสดงจบแล้วพึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ 3
4. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก 4 ขึ้นแสดง ยกสังฆาทิเสส 13
ขึ้นแสดง ยกอนิยต 2 ขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือ
ด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ 4
5. ยกขึ้นแสดงโดยพิสดารทั้งหมด เป็นวิสุทธิแบบที่ 5
วิสุทธิแม้อื่นอีกมี 5 แบบ คือ

1. สุตตุทเทสอุโบสถ 2. ปาริสุทธิอุโบสถ
3. อธิษฐานอุโบสถ 4. สามัคคีอุโบสถ
5. ปวารณา

ว่าด้วยอานิสงส์การทรงวินัย เป็นต้น
การทรงวินัยมีอานิสงส์ 5 อย่าง คือ
1. เป็นอันคุ้มครองรักษากองศีลของตนไว้ดีแล้ว
2. ผู้ที่ถูกความรังเกียจครอบงำย่อมหวนระลึกได้
3. กล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์
4. ข่มด้วยดีซึ่งข้าศึกโดยสหธรรม
5. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรมมี 5 อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรมมี 5 อย่าง
ปัญจกวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :476 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] หัวข้อประจำวาร
หัวข้อประจำวาร
อาบัติ กองอาบัติ วินีตวัตถุ อนันตริยกรรม บุคคลที่แน่นอน
อาบัติมีการตัดเป็นวินัยกรรม ต้องอาบัติด้วยอาการ 5
ต้องอาบัติเพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย ภิกษุไม่เข้ากรรม
ภิกษุเข้ากรรม กิจที่ควร ภิกษุถูกระแวง น้ำมัน มันเหลว
ความเสื่อม ความถึงพร้อม นิสัยระงับ บุคคลไม่ควรให้อุปสมบท
ผ้าตกที่ป่าช้า ผ้าที่โคกัด การลัก โจร
สิ่งของไม่ควรจ่าย สิ่งของไม่ควรแบ่ง อาบัติที่เกิดทางกาย
เกิดทางกายกับวาจา อาบัติเป็นเทสนาคามินี สงฆ์
ปาติโมกขุทเทส ปัจจันตชนบท อานิสงส์กฐิน
กรรม อาบัติจนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ 3 ครั้ง
ปาราชิก ถุลลัจจัย ทุกกฏ อกัปปิยวัตถุ กัปปิยวัตถุ
สิ่งที่ให้แล้วไม่เป็นบุญ สิ่งที่บรรเทาได้ยาก การกวาด
การกวาดอย่างอื่นอีก ถ้อยคำ อาบัติ อธิกรณ์ วัตถุ ญัตติ
อาบัติและอนาบัติ ปาติโมกข์ทั้ง 2 อาบัติเบา
จงทราบฝ่ายดำและฝ่ายขาวดังข้างต้นนี้
ภิกษุถืออยู่ป่า ถือเที่ยวบิณฑบาต ถือผ้าบังสุกุล
ถืออยู่โคนไม้ ถืออยู่ป่าช้า ถืออยู่กลางแจ้ง ถือผ้า 3 ผืน
ถือเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับ ถือการนั่ง
ถืออยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้ ถือนั่งฉัน ณ อาสนะแห่งเดียว
ถือการห้ามภัตรที่ถวายทีหลัง ถือฉันข้าวเฉพาะในบาตร
อุโบสถ ปวารณา อาบัติและอนาบัติ
บทฝ่ายดำและฝ่ายขาวดังข้างต้นนี้สำหรับภิกษุณีก็เหมือนกัน
กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใส กรรมที่น่าเลื่อมใส
กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใสและน่าเลื่อมใสอื่นอีก 2 อย่าง
ภิกษุเข้าไปสู่สกุลคลุกคลีอยู่เกินเวลา พืชพันธุ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :477 }