เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 5. ปัญจกวาร
ว่าด้วยโทษในกรรมไม่น่าเลื่อมใส เป็นต้น
กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใสมีโทษ 5 อย่าง คือ
1. ตนเองก็ติเตียนตน
2. ผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็ติเตียน
3. กิตติศัพท์อันชั่วย่อมขจรไป
4. หลงลืมสติตาย
5. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
กรรมที่น่าเลื่อมใสมีอานิสงส์ 5 อย่าง คือ
1. ตนเองก็ไม่ติเตียนตน
2. ผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็สรรเสริญ
3. กิตติศัพท์อันดีย่อมขจรไป
4. ไม่หลงลืมสติตาย
5. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใสมีโทษแม้อื่นอีก 5 อย่าง คือ
1. ผู้ที่ยังไม่เลื่อมใสย่อมไม่เลื่อมใส
2. บางพวกที่เลื่อมใสแล้วกลับแปรเป็นอื่นไป
3. ไม่เป็นอันทำตามคำสอนพระศาสดา
4. ชนรุ่นหลังย่อมไม่ยึดถือเป็นแบบอย่าง
5. จิตของเขาไม่เลื่อมใส
กรรมที่น่าเลื่อมใสมีอานิสงส์ 5 อย่าง คือ
1. ผู้ที่ยังไม่เลื่อมใสย่อมเลื่อมใส
2. ผู้ที่เลื่อมใสแล้วย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้นไป
3. เป็นอันทำตามคำสอนพระศาสดา
4. ชนรุ่งหลัง ย่อมยึดถือเป็นแบบอย่าง
5. จิตของเขาย่อมเลื่อมใส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :474 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 5. ปัญจกวาร
ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูลมีโทษ 5 อย่าง คือ
1. ต้องอาบัติเพราะเที่ยวไปไม่บอกลา
2. ต้องอาบัติเพราะนั่งในที่ลับ
3. ต้องอาบัติเพราะอาสนะกำบัง
4. แสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน 5-6 คำต้องอาบัติ
5. เป็นผู้มากด้วยความดำริในกามอยู่
ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล คลุกคลีอยู่ในตระกูลเกินเวลา มีโทษ 5 อย่าง คือ
1. พบมาตุคามเป็นประจำ
2. เมื่อมีการพบก็มีการเกี่ยวข้อง
3. เมื่อมีการเกี่ยวข้องก็มีความสนิทสนม
4. เมื่อมีความสนิทสนมก็มีจิตกำหนัด
5. เมื่อมีจิตกำหนัดก็เป็นอันหวังข้อนี้ได้ คือ เธอจักไม่ยินดีประพฤติ
พรหมจรรย์ จักต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจัก
บอกลาสิกขาเพื่อเป็นคฤหัสถ์

ว่าด้วยพืชและผลไม้
พืชพันธุ์มี 5 ชนิด คือ

1. พืชพันธุ์เกิดจากเหง้า 2. พืชพันธุ์เกิดจากลำต้น
3. พืชพันธุ์เกิดจากตา 4. พืชพันธุ์เกิดจากยอด
5. พืชพันธุ์เกิดจากเมล็ด

ผลไม้ที่ควรบริโภคด้วยวิธีอันควรแก่สมณะ มี 5 คือ

1. ผลไม้ที่ลนไฟ 2. ผลไม้ที่กรีดด้วยศัสตรา
3. ผลไม้ที่จิกด้วยเล็บ 4. ผลไม้ที่ไม่มีเมล็ด
5. ผลไม้ที่ปล้อนเอาเมล็ดออกแล้ว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :475 }