เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 5. ปัญจกวาร
4. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
5. จำปาติโมกข์ทั้ง 2 โดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะได้ดี
พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก 5 นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ
1. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
2. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
3. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
4. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
5. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ 5 นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ
1. รู้อาบัติและอนาบัติ
2. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
3. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
4. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
5. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

ว่าด้วยภิกษุอยู่ป่า เป็นต้น
ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ามี 5 จำพวก คือ
1. เพราะเป็นผู้โง่เขลา งมงาย จึงอยู่ป่า
2. เป็นผู้ปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ จึงอยู่ป่า
3. เพราะมัวเมา จิตฟุ้งซ่าน จึงอยู่ป่า
4. เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้าสรรเสริญ
จึงอยู่ป่า
5. เพราะอาศัยความมักน้อยสันโดษ ขัดเกลา ความเงียบสงัด และ
เพราะอาศัยว่าการอยู่ป่ามีประโยชน์ด้วยการปฏิบัติอันงามนี้ จึงอยู่ป่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :470 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 5. ปัญจกวาร
ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตมี 5 จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลมี 5 จำพวก
ฯลฯ ภิกษุผู้ถืออยู่โคนไม้มี 5 จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าช้ามี 5 จำพวก ฯลฯ
ภิกษุผู้ถืออยู่กลางแจ้งมี 5 จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถือผ้า 3 ผืนมี 5 จำพวก ฯลฯ
ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับมี 5 จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถือการนั่งมี 5 จำพวก
ฯลฯ ภิกษุผู้ถืออยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้มี 5 จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถือนั่งฉัน ณ
อาสนะแห่งเดียวมี 5 จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถือการห้ามภัตรที่เขานำมาถวายเมื่อ
ภายหลังมี 5 จำพวก ฯลฯ
ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรมี 5 จำพวก คือ
1. เพราะเป็นผู้โง่เขลา งมงาย จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร
2. เป็นผู้ปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ จึงถือการฉัน
เฉพาะในบาตร
3. เพราะมัวเมา จิตฟุ้งซ่าน จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร
4. เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้าสรรเสริญ
จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร
5. เพราะอาศัยความมักน้อยสันโดษ ขัดเกลา ความเงียบ สงัด และ
เพราะอาศัยว่าการฉันเฉพาะในบาตรมีประโยชน์ด้วยการปฏิบัติอัน
งามนี้ จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร

ว่าด้วยองค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัย
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยไม่ได้ คือ

1. ไม่รู้อุโบสถ 2. ไม่รู้อุโบสถกรรม
3. ไม่รู้ปาติโมกข์ 4. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทส
5. มีพรรษาหย่อน 5

ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 ไม่ถือนิสัยแล้ว ควรอยู่ได้ คือ

1. รู้อุโบสถ 2. รู้อุโบสถกรรม
3. รู้ปาติโมกข์ 4. รู้ปาติโมกขุทเทส
5. มีพรรษาครบ 5 หรือมีพรรษาเกิน 5


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :471 }