เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 5. ปัญจกวาร
3. ฉลาดในเบื้องต้น 4. ฉลาดในเบื้องปลาย
5. รู้กาล
พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก 5 นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ
1. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
2. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
3. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
4. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
5. ไม่ยึดถือ ไม่ใส่ใจ ไม่ใคร่ครวญถ้อยคำที่สืบต่อจากอาจารย์ให้ดี
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ 5 นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ
1. รู้อาบัติและอนาบัติ
2. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
3. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
4. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
5. ยึดถือ ใส่ใจ ใคร่ครวญถ้อยคำที่สืบต่อจากอาจารย์ด้วยดี
พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก 5 นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ
1. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
2. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
3. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
4. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
5. จำปาติโมกข์ทั้ง 2 โดยพิสดารไม่ดี จำแนกไม่ดี ไม่คล่องแคล่ว
วินิจฉัยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะไม่ดี
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ 5 นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ
1. รู้อาบัติและอนาบัติ
2. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
3. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :469 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 5. ปัญจกวาร
4. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
5. จำปาติโมกข์ทั้ง 2 โดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะได้ดี
พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก 5 นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ
1. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
2. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
3. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
4. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
5. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ 5 นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ
1. รู้อาบัติและอนาบัติ
2. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
3. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
4. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
5. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

ว่าด้วยภิกษุอยู่ป่า เป็นต้น
ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ามี 5 จำพวก คือ
1. เพราะเป็นผู้โง่เขลา งมงาย จึงอยู่ป่า
2. เป็นผู้ปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ จึงอยู่ป่า
3. เพราะมัวเมา จิตฟุ้งซ่าน จึงอยู่ป่า
4. เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้าสรรเสริญ
จึงอยู่ป่า
5. เพราะอาศัยความมักน้อยสันโดษ ขัดเกลา ความเงียบสงัด และ
เพราะอาศัยว่าการอยู่ป่ามีประโยชน์ด้วยการปฏิบัติอันงามนี้ จึงอยู่ป่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :470 }