เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 5. ปัญจกวาร
ผ้าบังสุกุลมี 5 อย่าง คือ

1. ผ้าตกที่ป่าช้า 2. ผ้าตกที่ตลาด
3. ผ้าหนูกัด 4. ผ้าปลวกกัด
5. ผ้าถูกไฟไหม้

ผ้าบังสุกุลแม้อื่นอีก 5 อย่าง คือ

1. ผ้าที่โคกัด 2. ผ้าที่แพะกัด
3. ผ้าที่ห่มสถูป 4. ผ้าที่เขาทิ้งในสถานที่อภิเษก
5. ผ้าที่เขานำไปสู่ป่าช้าแล้วนำกลับมา

อวหารมี 5 อย่าง คือ

1. เถยยาวหาร 2. ปสัยหาวหาร
3. ปริกัปปาวหาร 4. ปฏิจฉันนาวหาร
5. กุสาวหาร

มหาโจรที่มีปรากฏอยู่ในโลกมี 5 จำพวก
สิ่งของที่ไม่ควรจ่ายมี 5 อย่าง
สิ่งของที่ไม่ควรแบ่งมี 5 อย่าง
อาบัติที่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิตมี 5 อย่าง
อาบัติที่เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิตมี 5 อย่าง
อาบัติที่เป็นเทสนาคามินีมี 5 อย่าง
สงฆ์มี 5 จำพวก ปาติโมกขุทเทสมี 5 อย่าง
ในปัจจันตชนบททุกแห่ง คณะมีพระวินัยธรครบ 5 พึงให้กุลบุตรอุปสมบทได้
ในการกรานกฐินมีอานิสงส์ 5 อย่าง กรรมมี 5 อย่าง
อาบัติมี 5 อย่าง จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ 3 ครั้ง
ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นไม่ให้ด้วยอาการ 5 อย่าง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นไม่ให้ด้วยอาการ 5 อย่าง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นไม่ให้ด้วยอาการ 5 ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :465 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 5. ปัญจกวาร
ภิกษุไม่ควรบริโภคอกัปปิยวัตถุ 5 อย่าง คือ

1. ของที่เขาไม่ให้ 2. ไม่ทราบ
3. เป็นอกัปปิยะ 4. ยังไม่ได้รับประเคน
5. ไม่ได้ทำให้เป็นเดน

ภิกษุควรบริโภคกัปปิยวัตถุ 5 อย่าง คือ

1. ของที่เขาให้ 2. ทราบแล้ว
3. เป็นกัปปิยะ 4. รับประเคนแล้ว
5. ทำให้เป็นเดนแล้ว

การให้ที่ไม่จัดเป็นบุญ แต่ชาวโลกสมมติว่าเป็นบุญ มี 5 อย่าง คือ

1. ให้น้ำเมา 2. ให้มหรสพ
3. ให้สตรี 4. ให้โคผู้
5. ให้รูปภาพ

สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยากมี 5 อย่าง คือ
1. ราคะเกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก 2. โทสะเกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก
3. โมหะเกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก 4. ปฏิภาณเกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้
ยาก
5. จิตที่คิดจะไปเกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก
การกวาดมีอานิสงส์ 5 อย่าง คือ

1. จิตของตนเลื่อมใส 2. จิตของผู้อื่นเลื่อมใส
3. เทวดาชื่นชม 4. สั่งสมกรรมที่เป็นไปเพื่อให้เกิด
ความเลื่อมใส

5. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การกวาดแม้อื่นอีกก็มีอานิสงส์ 5 อย่าง คือ
1. จิตของตนเลื่อมใส 2. จิตของผู้อื่นเลื่อมใส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :466 }