เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 4. จตุกกวาร
กาลิกที่รับประเคนแล้ว ย่อมไม่ควรทั้งในกาล ทั้งในเวลาวิกาล มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในปัจจันตชนบท แต่ไม่ต้องในมัชฌิมชนบท มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในมัชฌิมชนบท แต่ไม่ต้องในปัจจันตชนบท มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในปัจจันตชนบท และในมัชฌิมชนบท มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่ต้องทั้งในปัจจันตชนบท ทั้งในมัชฌิมชนบท มีอยู่
วัตถุย่อมควรในปัจจันตชนบท แต่ไม่ควรในมัชฌิมชนบท มีอยู่
วัตถุย่อมควรในมัชฌิมชนบท แต่ไม่ควรในปัจจันตชนบท มีอยู่
วัตถุย่อมควรทั้งในปัจจันตชนบท และในมัชฌิมชนบท มีอยู่
วัตถุย่อมไม่ควรทั้งในปัจจันตชนบท ทั้งในมัชฌิมชนบท มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในภายใน แต่ไม่ต้องในภายนอก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในภายนอก แต่ไม่ต้องในภายใน มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในภายใน และในภายนอก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่ต้องทั้งในภายใน ทั้งในภายนอก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในภายในสีมา แต่ไม่ต้องในภายนอกสีมา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในภายนอกสีมา แต่ไม่ต้องในภายในสีมา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในภายในสีมา และในภายนอกสีมา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่ต้องทั้งในภายในสีมา ทั้งในภายนอกสีมา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในหมู่บ้าน แต่ไม่ต้องในป่า มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในป่า แต่ไม่ต้องในหมู่บ้าน มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในหมู่บ้าน และในป่า มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่ต้องทั้งในหมู่บ้าน ทั้งในป่า มีอยู่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :459 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 4. จตุกกวาร
ว่าด้วยการโจท เป็นต้น

การโจทมี 4 อย่าง คือ
1. โจทชี้วัตถุ 2. โจทชี้อาบัติ
3. โจทห้ามสังวาส 4. โจทห้ามสามีจิกรรม
บุพพกิจมี 4 อย่าง
ความพรั่งพร้อมมี 4 อย่าง
อาบัติปาจิตตีย์ไม่มีอะไรอื่นมี 4 สิกขาบท1
ภิกษุสมมติมี 4 สิกขาบท
การถึงอคติ(ความลำเอียง)มี 4 อย่าง คือ
1. ลำเอียงเพราะชอบ 2. ลำเอียงเพราะชัง
3. ลำเอียงเพราะหลง 4. ลำเอียงเพราะกลัว
การไม่ถึงอคติ(ความไม่ลำเอียง)มี 4 คือ
1. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ 2. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
3. ไม่ลำเอียงเพราะหลง 4. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว

ภิกษุอลัชชีประกอบด้วยองค์ 4 ย่อมทำลายสงฆ์ คือ

1. ลำเอียงเพราะชอบ 2. ลำเอียงเพราะชัง
3. ลำเอียงเพราะหลง 4. ลำเอียงเพราะกลัว

ภิกษุผู้มีศีลดีงามประกอบด้วยองค์ 4 ย่อมสมานสงฆ์ที่แตกกันแล้วให้สามัคคี
กัน คือ

1. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ 2. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
3. ไม่ลำเอียงเพราะหลง 4. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว


เชิงอรรถ :
1 ได้แก่สิกขาบทที่ 6 แห่งภูตคามวรรค สิกขาบทที่ 2 แห่งอเจลกวรรค สิกขาบทที่ 7-8 แห่ง
สหธัมมิกวรรค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :460 }