เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 4. จตุกกวาร
ความที่สิกขาบทมีวัตถุเสมอกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีอาบัติเสมอกัน ไม่มีอยู่
ความที่สิกขาบทมีอาบัติเสมอกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีวัตถุเสมอกัน ไม่มีอยู่
ความที่สิกขาบทมีวัตถุเสมอกัน และมีอาบัติเสมอกัน มีอยู่
ความที่สิกขาบททั้งมีวัตถุเสมอกัน ทั้งมีอาบัติเสมอกัน ไม่มีอยู่

ว่าด้วยพระอุปัชฌาย์ต้องอาบัติ เป็นต้น
อาบัติที่พระอุปัชฌาย์ต้อง แต่สัทธิวิหาริกไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่สัทธิวิหาริกต้อง แต่พระอุปัชฌาย์ไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่พระอุปัชฌาย์ และสัทธิวิหาริกต้อง มีอยู่
อาบัติที่ทั้งพระอุปัชฌาย์ ทั้งสัทธิวิหาริกไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่พระอาจารย์ต้อง แต่อันเตวาสิกไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่อันเตวาสิกต้อง แต่พระอาจารย์ไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่พระอาจารย์ และอันเตวาสิกต้อง มีอยู่
อาบัติที่ทั้งพระอาจารย์ ทั้งอันเตวาสิกไม่ต้อง มีอยู่

ว่าด้วยปัจจัยแห่งการขาดพรรษา เป็นต้น
การขาดพรรษาที่ไม่ต้องอาบัติมีปัจจัย 4 อย่าง คือ

1. สงฆ์แตกกัน 2. มีพวกภิกษุประสงค์จะทำลาย
สงฆ์
3. มีอันตรายแก่ชีวิต 4. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์

วจีทุจริตมี 4 อย่าง คือ

1. พูดเท็จ 2. พูดส่อเสียด
3. พูดคำหยาบ 4. พูดเพ้อเจ้อ

วจีสุจริตมี 4 อย่าง คือ

1. พูดจริง 2. พูดไม่ส่อเสียด
3. พูดคำสุภาพ 4. พูดพอประมาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :457 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 4. จตุกกวาร
ว่าด้วยถือเอาทรัพย์ เป็นต้น
ภิกษุถือเอาเองต้องอาบัติหนัก ใช้ผู้อื่นต้องอาบัติเบา มีอยู่
ภิกษุถือเอาเองต้องอาบัติเบา ใช้ผู้อื่นต้องอาบัติหนัก มีอยู่
ภิกษุถือเอาเองก็ดี ใช้ผู้อื่นก็ดี ต้องอาบัติหนัก มีอยู่
ภิกษุถือเอาเองก็ดี ใช้ผู้อื่นก็ดี ต้องอาบัติเบา มีอยู่

ว่าด้วยบุคคลควรอภิวาท เป็นต้น
บุคคลควรอภิวาท แต่ไม่ควรลุกรับ มีอยู่
บุคคลควรลุกรับ แต่ไม่ควรอภิวาท มีอยู่
บุคคลควรอภิวาท และควรลุกรับ มีอยู่
บุคคลทั้งไม่ควรอภิวาท ทั้งไม่ควรลุกรับ มีอยู่
บุคคลควรแก่อาสนะ แต่ไม่ควรอภิวาท มีอยู่
บุคคลควรอภิวาท แต่ไม่ควรแก่อาสนะ มีอยู่
บุคคลควรแก่อาสนะ และควรอภิวาท มีอยู่
บุคคลทั้งไม่ควรแก่อาสนะ ทั้งไม่ควรอภิวาท มีอยู่

ว่าด้วยต้องอาบัติในกาล เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุต้องในกาล แต่ไม่ต้องในเวลาวิกาล มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในเวลาวิกาล แต่ไม่ต้องในกาล มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในกาล และในเวลาวิกาล มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่ต้องทั้งในกาล ทั้งในเวลาวิกาล มีอยู่
กาลิกที่รับประเคนแล้ว ย่อมควรในกาล แต่ไม่ควรในเวลาวิกาล มีอยู่
กาลิกที่รับประเคนแล้ว ย่อมควรในเวลาวิกาล แต่ไม่ควรในกาล มีอยู่
กาลิกที่รับประเคนแล้ว ย่อมควรในกาล และในเวลาวิกาล มีอยู่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :458 }