เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 4. จตุกกวาร
รัตติเฉทของภิกษุผู้ประพฤติมานัตมี 4 อย่าง คือ

1. สหวาสะ(การอยู่ร่วมกัน) 2. วิปปวาสะ(การอยู่ปราศจาก)
3. อนาโรจนา(การไม่บอก) 4. อูเณคเณจรณะ(การประพฤติ
ในคณะสงฆ์อันพร่อง)

พระบัญญัติที่ทรงยกขึ้นแสดงเองมี 4 อย่าง
กาลิกที่รับประเคนไว้ฉันมี 4 อย่าง คือ

1. ยาวกาลิก(เช้าถึงเที่ยง) 2. ยามกาลิก (วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง)
3. สัตตาหกาลิก(7 วัน) 4. ยาวชีวิก(ไม่จำกัดเวลาวันตลอด
ชีวิต)

ยามหาวิกัฏ1มี 4 อย่าง คือ

1. คูถ 2. มูตร
3. เถ้า 4. ดิน

กรรมมี 4 อย่าง คือ

1. อปโลกนกรรม 2. ญัตติกรรม
3. ญัตติทุติยกรรม 4. ญัตติจตุตถกรรม

กรรมแม้อื่นอีกมี 4 อย่าง คือ

1. กรรมเป็นวรรคโดยไม่ชอบธรรม 2. กรรมพร้อมเพรียงโดยไม่ชอบ
ธรรม
3. กรรมเป็นวรรคโดยชอบธรรม 4. กรรมพร้อมเพรียงโดยชอบ
ธรรม

วิบัติมี 4 อย่าง คือ

1. สีลวิบัติ 2. อาจารวิบัติ
3. ทิฏฐิวิบัติ 4. อาชีววิบัติ

อธิกรณ์มี 4 อย่าง คือ

1. วิวาทาธิกรณ์ 2. อนุวาทาธิกรณ์
3. อาปัตตาธิกรณ์ 4. กิจจาธิกรณ์


เชิงอรรถ :
1 ยา 4 อย่างนี้ ภิกษุอาพาธฉันได้โดยไม่ต้องรับประเคน คือ ไม่ต้องอาบัติเพราะขาดประเคน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :455 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 4. จตุกกวาร
การประทุษร้ายบริษัทมี 4 อย่าง คือ
1. ภิกษุผู้ทุศีล มีธรรมทราม จัดเป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท
2. ภิกษุณีผู้ทุศีล มีธรรมทราม จัดเป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท
3. อุบาสกผู้ทุศีล มีธรรมทราม จัดเป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท
4. อุบาสิกาผู้ทุศีล มีธรรมทราม จัดเป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท
ความงามในบริษัทมี 4 อย่าง คือ
1. ภิกษุผู้มีศีล มีธรรมงาม จัดเป็นผู้งามในบริษัท
2. ภิกษุณีผู้มีศีล มีธรรมงาม จัดเป็นผู้งามในบริษัท
3. อุบาสกผู้มีศีล มีธรรมงาม จัดเป็นผู้งามในบริษัท
4. อุบาสิกาผู้มีศีล มีธรรมงาม จัดเป็นผู้งามในบริษัท

ว่าด้วยพระอาคันตุกะ เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุอาคันตุกะต้อง ภิกษุผู้อยู่ในอาวาสไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุผู้อยู่ในอาวาสต้อง ภิกษุอาคันตุกะไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุอาคันตุกะ และภิกษุผู้อยู่ในอาวาสต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุอาคันตุกะ และภิกษุผู้อยู่ในอาวาสไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุผู้เตรียมไปต้อง ภิกษุผู้อยู่ในอาวาสไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุเจ้าถิ่นต้อง ภิกษุผู้เตรียมไปไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุผู้เตรียมไป และภิกษุผู้อยู่ในอาวาสต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุผู้เตรียมไป และภิกษุผู้อยู่ในอาวาสไม่ต้อง มีอยู่

ว่าด้วยสิกขาบทมีวัตถุต่างกัน เป็นต้น
ความที่สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีอาบัติต่างกัน ไม่มีอยู่
ความที่สิกขาบทมีอาบัติต่างกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน ไม่มีอยู่
ความที่สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน และมีอาบัติต่างกัน มีอยู่
ความที่สิกขาบททั้งมีวัตถุต่างกัน ทั้งมีอาบัติต่างกัน ไม่มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :456 }