เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 4. จตุกกวาร
ว่าด้วยบริขาร
บริขารมี 4 อย่าง คือ
1. มีบริขารที่ควรรักษา คุ้มครอง นับว่าเป็นสมบัติของเรา ควรใช้สอย
2. มีบริขารที่ควรรักษา คุ้มครอง นับว่าเป็นสมบัติของเรา แต่ไม่ควร
ใช้สอย
3. มีบริขารที่ควรรักษา คุ้มครอง แต่ไม่นับว่าเป็นสมบัติของเรา ไม่ควร
ใช้สอย
4. มีบริขารที่ไม่ควรรักษา ไม่ควรคุ้มครอง ไม่นับว่าเป็นสมบัติของเรา
ไม่ควรใช้สอย

ว่าด้วยการต้องอาบัติและออกจากอาบัติ เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุต้องต่อหน้า ออกลับหลัง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องลับหลัง ออกต่อหน้า มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องต่อหน้า ออกต่อหน้า มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องลับหลัง ออกลับหลัง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่รู้อยู่จึงต้อง รู้อยู่จึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุรู้อยู่จึงต้อง ไม่รู้อยู่จึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่รู้อยู่จึงต้อง ไม่รู้อยู่จึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุรู้อยู่จึงต้อง รู้อยู่จึงออก มีอยู่

ว่าด้วยการต้องอาบัติ เป็นต้น
ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ 4 อย่าง คือ

1. ต้องทางกาย 2. ต้องทางวาจา
3. ต้องทางกายกับวาจา 4. ต้องทางกรรมวาจา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :453 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 4. จตุกกวาร
ภิกษุต้องอาบัติแม้ด้วยอาการอื่นอีก 4 อย่าง คือ

1. ในท่ามกลางสงฆ์ 2. ในท่ามกลางคณะ
3. ในสำนักบุคคล 4. เพราะเพศเปลี่ยนแปลง

ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการ 4 อย่าง คือ

1. ออกทางกาย 2. ออกทางวาจา
3. ออกทางกายกับวาจา 4. ออกด้วยกรรมวาจา

ภิกษุออกจากอาบัติแม้ด้วยอาการอื่นอีก 4 อย่าง คือ

1. ในท่ามกลางสงฆ์ 2. ในท่ามกลางคณะ
3. ในสำนักบุคคล 4. เพราะเพศเปลี่ยนแปลง

ภิกษุละบุรุษเพศเดิม ดำรงอยู่ในสตรีเพศอันเกิดในภายหลัง พร้อมกับการได้
เพศใหม่ วิญญัติย่อมระงับไป บัญญัติย่อมดับไป
ภิกษุณีละสตรีเพศที่เกิดในภายหลัง กลับดำรงอยู่ในบุรุษเพศอันเดิม พร้อมกับ
การได้เพศใหม่ บัญญัติย่อมระงับไป บัญญัติย่อมดับไป

การโจทมี 4 อย่าง คือ
1. โจทด้วยสีลวิบัติ 2. โจทด้วยอาจารวิบัติ
3. โจทด้วยทิฏฐิวิบัติ 4. โจทด้วยอาชีววิบัติ
ปริวาสมี 4 อย่าง คือ
1. ปฏิจฉันนปริวาส 2. อัปปฏิจฉันนปริวาส
3. สุทธันตปริวาส 4. สโมธานปริวาส
มานัตมี 4 อย่าง คือ
1. ปฏิจฉันนมานัต 2. อัปปฏิจฉันนมานัต
3. ปักขมานัต 4. สโมธานมานัต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :454 }