เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 3. ติกวาร
อกุศลมูลมี 3 อย่าง คือ
1. อกุศลมูลคือโลภะ 2. อกุศลมูลคือโทสะ
3. อกุศลมูลคือโมหะ
กุศลมูลมี 3 อย่าง คือ
1. กุศลมูลคืออโลภะ 2. กุศลมูลคืออโทสะ
3. กุศลมูลคืออโมหะ
ทุจริตมี 3 อย่าง คือ
1. กายทุจริต 2. วจีทุจริต
3. มโนทุจริต
สุจริตมี 3 อย่าง คือ
1. กายสุจริต 2. วจีสุจริต
3. มโนสุจริต
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติติกโภชนะในตระกูล โดยอาศัยอำนาจประโยชน์ 3
ประการ คือ
1. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
2. เพื่ออยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม ด้วยประสงค์ว่า “พวกมัก
มากอย่าอาศัยฝักฝ่ายทำลายสงฆ์”
3. เพื่อทรงอนุเคราะห์ตระกูล
พระเทวทัตมีจิตถูกอสัทธรรม 3 อย่าง คือ
1. ความปรารถนาชั่ว 2. ความมีมิตรชั่ว
3. การได้บรรลุคุณวิเศษขั้นต่ำแล้วเลิกเสียกลางคัน
ครอบงำย่ำยี จึงไปเกิดในอบาย ไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
สมมติมี 3 อย่าง คือ
1. สมมติไม้เท้า 2. สมมติสาแหรก
3. สมมติไม้เท้าและสาแหรก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :449 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] หัวข้อประจำวาร
ฐานวางเท้า มี 3 อย่าง คือ
1. ฐานวางเท้าถ่ายอุจจาระ 2. ฐานวางเท้าถ่ายปัสสาวะ
3. ฐานวางเท้าชำระ
สิ่งของสำหรับถูเท้ามี 3 อย่าง คือ
1. ศิลา 2. กรวด
3. ศิลาฟองน้ำ
ติกวาร จบ

หัวข้อประจำวาร
อาบัติที่ต้องเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพระชนม์
อาบัติที่ต้องในกาล ในกลางคืน อาบัติที่ภิกษุมีพรรษา 10 ต้อง
อาบัติที่ภิกษุมีพรรษา 5 ต้อง อาบัติที่ภิกษุมีกุศลจิตต้อง
อาบัติที่ภิกษุมีเวทนาต้อง วัตถุแห่งการโจท การจับสลาก
ข้อห้าม 2 เรื่อง ข้อบัญญัติ ข้อบัญญัติอื่นอีก 2 เรื่อง
ภิกษุโง่เขลา การสำเร็จในกาฬปักษ์ การต้องอาบัติในฤดูหนาว
สังฆอุโบสถสำเร็จแก่สงฆ์ การปิด เครื่องปกปิด สิ่งปิดบัง
สิ่งเปิดเผย การให้ถือเสนาสนะ ภิกษุอาพาธ การงดปาติโมกข์
ปริวาส มานัต ปริวาสิกภิกษุ อาบัติที่ต้องภายใน
อาบัติที่ต้องภายในสีมา การต้องอาบัติด้วยอาการ 3
การต้องอาบัติอื่นอีก 3 การออกจากอาบัติ 3
การออกจากอาบัติอื่นอีก 3 อมูฬหวินัย 2 อย่าง
ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นอาบัติ ไม่ทำคืนอาบัติ ไม่สละทิฏฐิ
การตั้งใจมั่นลงอุกเขปนียกรรม ผู้มีศีลวิบัติในอธิศีล ผู้คะนอง
การประพฤติไม่สมควร การทำลาย อาชีววิบัติ
ต้องอาบัติ ต้องอาบัติเช่นนั้น การกล่าวติเตียน การงดอุโบสถ
การงดปวารณา สมมติ ว่ากล่าว ตำแหน่งเฉพาะ ไม่อาศัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :450 }