เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 3. ติกวาร
อาบัติที่ภิกษุต้องภายในสีมา ไม่ต้องภายนอกสีมา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องภายนอกสีมา ไม่ต้องภายในสีมา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งภายในสีมา ทั้งภายนอกสีมา มีอยู่

ว่าด้วยต้องอาบัติด้วยอาการ 3 อย่าง เป็นต้น
ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ 3 อย่าง คือ
1. ต้องทางกาย 2. ต้องทางวาจา
3. ต้องทางกายกับวาจา
ภิกษุต้องอาบัติแม้อื่นอีกด้วยอาการ 3 อย่าง คือ
1. ต้องในท่ามกลางสงฆ์ 2. ต้องในท่ามกลางคณะ
3. ต้องในสำนักบุคคล
ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการ 3 อย่าง คือ
1. ออกด้วยกาย 2. ออกด้วยวาจา
3. ออกด้วยกายกับวาจา
ภิกษุออกจากอาบัติแม้อื่นอีกด้วยอาการ 3 อย่าง คือ
1. ออกในท่ามกลางสงฆ์ 2. ออกในท่ามกลางคณะ
3. ออกในสำนักบุคคล
ให้อมูฬหวินัยที่ไม่ชอบธรรมมี 3 ให้อมูฬหวินัยที่ชอบธรรมมี 3

ว่าด้วยข้อที่สงฆ์มุ่งหวัง เป็นต้น
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุประกอบด้วยองค์ 3 คือ
1. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
2. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
3. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :442 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 3. ติกวาร
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุประกอบด้วยองค์ 3 คือ
1. ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
2. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
3. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุประกอบด้วยองค์ 3 คือ
1. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่อง
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
2. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
3. ประทุษร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทราม
เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว1
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุประกอบด้วยองค์ 3 คือ
1. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
2. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
3. ด่าบริภาษคฤหัสถ์
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ 3 คือ
1. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
2. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
3. ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติ

เชิงอรรถ :
1 อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร (วิ.จู. (แปล) 6/27/54)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :443 }