เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 3. ติกวาร
2. อาบัติที่ภิกษุมีพรรษาหย่อน 5 จึงต้อง มีพรรษา 5 ไม่ต้อง มีอยู่
3. อาบัติที่ภิกษุทั้งมีพรรษา 5 ทั้งมีพรรษาหย่อน 5 ก็ต้อง มีอยู่
1. อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นกุศลจึงต้อง มีจิตเป็นอกุศลไม่ต้อง มีอยู่
2. อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอกุศลจึงต้อง มีจิตเป็นกุศลไม่ต้อง มีอยู่
3. อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอัพยากฤตจึงต้อง มีอยู่
1. อาบัติที่ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยสุขเวทนาจึงต้อง มีอยู่
2. อาบัติที่ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยทุกขเวทนาจึงต้อง มีอยู่
3. อาบัติที่ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยอทุกขมสุขเวทนาจึงต้อง มีอยู่

ว่าด้วยวัตถุแห่งการโจท เป็นต้น
วัตถุแห่งการโจทมี 3 อย่าง คือ
1. เห็น 2. ได้ยิน
3. นึกสงสัย
การจับสลากมี 3 อย่าง คือ
1. ปกปิด 2. เปิดเผย
3. กระซิบที่หู
ข้อห้ามมี 3 อย่าง คือ
1. ความมักมาก 2. ความไม่สันโดษ
3. ความไม่ขัดเกลา
ข้ออนุญาตมี 3 อย่าง คือ
1. ความมักน้อย 2. ความสันโดษ
3. ความขัดเกลา
ข้อห้ามแม้อื่นอีกมี 3 อย่าง คือ
1. ความมักมาก 2. ความไม่สันโดษ
3. ความไม่รู้จักประมาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :438 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 3. ติกวาร
ข้ออนุญาตมี 3 คือ
1. ความมักน้อย 2. ความสันโดษ
3. ความรู้จักประมาณ
บัญญัติมี 3 คือ
1. บัญญัติ 2. อนุบัญญัติ
3. อนุปปันนบัญญัติ
บัญญัติแม้อื่นอีกมี 3 คือ
1. สัพพัตถบัญญัติ 2. ปเทสบัญญัติ
3. สาธารณบัญญัติ
บัญญัติแม้อื่นอีกมี 3 คือ
1. อสาธารณบัญญัติ 2. เอกโตบัญญัติ
3. อุภโตบัญญัติ

ว่าด้วยภิกษุโง่เขลาและฉลาด เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุผู้โง่เขลาจึงต้อง ผู้ฉลาดไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุผู้ฉลาดจึงต้อง ผู้โง่เขลาไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุทั้งผู้โง่เขลาทั้งผู้ฉลาดก็ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในกาฬปักษ์ ไม่ต้องในชุณหปักษ์ มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในชุณหปักษ์ ไม่ต้องในกาฬปักษ์ มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในกาฬปักษ์ ทั้งในชุณหปักษ์ มีอยู่
การเข้าพรรษาย่อมสำเร็จในกาฬปักษ์ ไม่สำเร็จในชุณหปักษ์ มีอยู่
ปวารณาในวันมหาปวารณาย่อมสำเร็จในชุณหปักษ์ ไม่สำเร็จในกาฬปักษ์ มีอยู่
สังฆกิจที่เหลือย่อมสำเร็จทั้งในกาฬปักษ์ ทั้งในชุณหปักษ์ มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในฤดูหนาว ไม่ต้องทั้งในฤดูร้อน ทั้งในฤดูฝน มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในฤดูร้อน ไม่ต้องทั้งในฤดูหนาว ทั้งในฤดูฝน มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :439 }