เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 3. ติกวาร
ปริวาส 2 อย่าง มานัต 2 อย่าง
รัตติเฉท เอื้อเฟื้อ เกลือ 2 ชนิด
เกลืออื่นอีก 3 ชนิด บริโภค คำด่า คำส่อเสียด
คณโภชนะ วันจำพรรษา การงดปาติโมกข์ การรับภาระ
สิ่งที่สมควร อนาบัติ อธรรม วินัย อาสวะ

3. ติกวาร
ว่าด้วยหมวด 3
[323] 1. อาบัติที่เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพระชนม์อยู่ ภิกษุจึงต้อง เมื่อ
ปรินิพพานแล้วไม่ต้อง มีอยู่
2. อาบัติที่เมื่อพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว ภิกษุจึงต้อง เมื่อทรง
พระชนม์อยู่ไม่ต้อง มีอยู่
3. อาบัติที่เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพระชนม์อยู่ก็ดี ปรินิพพานแล้วก็ดี
ภิกษุก็ต้อง มีอยู่
1. อาบัติที่ภิกษุต้องในกาล ไม่ต้องในเวลาวิกาล มีอยู่
2. อาบัติที่ภิกษุต้องในเวลาวิกาล ไม่ต้องในกาล มีอยู่
3. อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในกาล ทั้งในเวลาวิกาล มีอยู่
1. อาบัติที่ภิกษุต้องในกลางคืน ไม่ต้องในกลางวัน มีอยู่
2. อาบัติที่ภิกษุต้องในกลางวัน ไม่ต้องในกลางคืน มีอยู่
3. อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในกลางคืน ทั้งในกลางวัน มีอยู่
1. อาบัติที่ภิกษุมีพรรษา 10 จึงต้อง มีพรรษาหย่อน 10 ไม่ต้อง มีอยู่
2. อาบัติที่ภิกษุมีพรรษาหย่อน 10 จึงต้อง มีพรรษา 10 ไม่ต้อง มีอยู่
3. อาบัติที่ภิกษุทั้งมีพรรษา 10 ทั้งมีพรรษาหย่อน 10 ก็ต้อง มีอยู่
1. อาบัติที่ภิกษุมีพรรษา 5 จึงต้อง มีพรรษาหย่อน 5 ไม่ต้อง มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :437 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 3. ติกวาร
2. อาบัติที่ภิกษุมีพรรษาหย่อน 5 จึงต้อง มีพรรษา 5 ไม่ต้อง มีอยู่
3. อาบัติที่ภิกษุทั้งมีพรรษา 5 ทั้งมีพรรษาหย่อน 5 ก็ต้อง มีอยู่
1. อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นกุศลจึงต้อง มีจิตเป็นอกุศลไม่ต้อง มีอยู่
2. อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอกุศลจึงต้อง มีจิตเป็นกุศลไม่ต้อง มีอยู่
3. อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอัพยากฤตจึงต้อง มีอยู่
1. อาบัติที่ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยสุขเวทนาจึงต้อง มีอยู่
2. อาบัติที่ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยทุกขเวทนาจึงต้อง มีอยู่
3. อาบัติที่ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยอทุกขมสุขเวทนาจึงต้อง มีอยู่

ว่าด้วยวัตถุแห่งการโจท เป็นต้น
วัตถุแห่งการโจทมี 3 อย่าง คือ
1. เห็น 2. ได้ยิน
3. นึกสงสัย
การจับสลากมี 3 อย่าง คือ
1. ปกปิด 2. เปิดเผย
3. กระซิบที่หู
ข้อห้ามมี 3 อย่าง คือ
1. ความมักมาก 2. ความไม่สันโดษ
3. ความไม่ขัดเกลา
ข้ออนุญาตมี 3 อย่าง คือ
1. ความมักน้อย 2. ความสันโดษ
3. ความขัดเกลา
ข้อห้ามแม้อื่นอีกมี 3 อย่าง คือ
1. ความมักมาก 2. ความไม่สันโดษ
3. ความไม่รู้จักประมาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :438 }