เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 2. ทุกวาร
ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการ 2 อย่าง คือ
1. ออกด้วยกาย 2. ออกด้วยวาจา
ปริวาสมี 2 อย่าง คือ
1. ปฏิจฉันนปริวาส 2. อัปปฏิจฉันนปริวาส
ปริวาสแม้อีก 2 อย่าง คือ
1. สุทธันตปริวาส 2. สโมธานปริวาส
มานัตมี 2 อย่าง คือ
1. ปฏิจฉันนมานัต 2. อัปปฏิจฉันนมานัต
มานัตแม้อีก 2 อย่าง คือ
1. ปักขมานัต 2. สโมธานมานัต
รัตติเฉทของบุคคล 2 จำพวก คือ
1. ภิกษุผู้อยู่ปริวาส 2. ภิกษุผู้ประพฤติมานัต

ว่าด้วยไม่เอื้อเฟื้อ เป็นต้น
ความไม่เอื้อเฟื้อมี 2 อย่าง คือ
1. ไม่เอื้อเฟื้อต่อบุคคล 2. ไม่เอื้อเฟื้อต่อธรรม
เกลือมี 2 ชนิด คือ
1. เกลือเกิดจากธรรมชาติ 2. เกลือเกิดจากน้ำด่าง
เกลือแม้อื่นอีกก็มี 2 ชนิด คือ
1. เกลือสมุทร 2. เกลือดำ
เกลือแม้อื่นอีกก็มี 2 ชนิด คือ
1. เกลือสินเธาว์ 2. เกลือดินโปร่ง
เกลือแม้อื่นอีกก็มี 2 ชนิด คือ
1. เกลือโรมกะ 2. เกลือปักขัลลกะ
การบริโภคมี 2 อย่าง คือ
1. การบริโภคภายใน 2. การบริโภคภายนอก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :433 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 2. ทุกวาร
คำด่ามี 2 อย่าง คือ
1. คำด่าหยาบ 2. คำด่าสุภาพ
คำส่อเสียดมีด้วยอาการ 2 อย่าง คือ
1. ต้องการให้ผู้อื่นชอบตน 2. ต้องการให้ผู้อื่นแตกกัน
การฉันคณโภชนะมีด้วยอาการ 2 อย่าง คือ
1. เพราะทายกนิมนต์ 2. เพราะภิกษุออกปากขอเขา
วันเข้าพรรษามี 2 วัน คือ
1. วันเข้าพรรษาต้น 2. วันเข้าพรรษาหลัง
งดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรมมี 2 อย่าง งดปาติโมกข์ชอบธรรมมี 2 อย่าง

ว่าด้วยบุคคลโง่เขลาและบัณฑิต เป็นต้น
บุคคลโง่เขลามี 2 จำพวก คือ
1. ผู้รับภาระที่ยังมาไม่ถึง 2. ผู้ไม่รับภาระที่มาถึงแล้ว
บุคคลบัณฑิตมี 2 จำพวก คือ
1. ผู้ไม่รับภาระที่ยังมาไม่ถึง 2. ผู้รับภาระที่มาถึงแล้ว
บุคคลโง่เขลาแม้อื่นอีกก็มี 2 จำพวก คือ
1. ผู้สำคัญสิ่งที่ไม่ควรว่าควร 2. ผู้สำคัญสิ่งที่ควรว่าไม่ควร
บุคคลบัณฑิตมี 2 จำพวก คือ
1. ผู้สำคัญสิ่งที่ไม่ควรว่าไม่ควร 2. ผู้สำคัญสิ่งที่ควรว่าควร
บุคคลโง่เขลาแม้อื่นอีกก็มี 2 จำพวก คือ
1. ผู้สำคัญอนาบัติว่าเป็นอาบัติ 2. ผู้สำคัญอาบัติว่าเป็นอนาบัติ
บุคคลบัณฑิตมี 2 จำพวก คือ
1. ผู้สำคัญอาบัติว่าเป็นอาบัติ 2. ผู้สำคัญอนาบัติว่าเป็นอนาบัติ
บุคคลโง่เขลาแม้อื่นอีกก็มี 2 จำพวก คือ
1. ผู้สำคัญในอธรรมว่าเป็นธรรม 2. ผู้สำคัญธรรมว่าเป็นอธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :434 }