เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 1. เอกกวาร
เอกุตตริกนัย
ว่าด้วยนัยเกินหนึ่ง
1. เอกกวาร
ว่าด้วยหมวด 1
[321] พึงรู้ธรรมทั้งหลายที่ก่ออาบัติ พึงรู้ธรรมทั้งหลายที่ไม่ก่ออาบัติ พึงรู้
อาบัติ พึงรู้อนาบัติ พึงรู้อาบัติเบา พึงรู้อาบัติหนัก พึงรู้อาบัติที่มีส่วนเหลือ พึงรู้
อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ พึงรู้อาบัติชั่วหยาบ พึงรู้อาบัติไม่ชั่วหยาบ พึงรู้อาบัติที่ทำ
คืนได้ พึงรู้อาบัติที่ทำคืนไม่ได้ พึงรู้อาบัติที่เป็นเทสนาคามินี พึงรู้อาบัติที่เป็น
อเทสนาคามินี พึงรู้อาบัติที่ทำอันตราย พึงรู้อาบัติที่ไม่ทำอันตราย พึงรู้อาบัติที่มี
โทษทางพระบัญญัติ พึงรู้อาบัติที่ไม่มีโทษทางพระบัญญัติ พึงรู้อาบัติที่เกิดจากการ
กระทำ พึงรู้อาบัติที่เกิดจากการไม่ทำ พึงรู้อาบัติที่เกิดจากการกระทำและจากการไม่ทำ
พึงรู้อาบัติก่อน พึงรู้อาบัติหลัง พึงรู้อาบัติระหว่างอาบัติก่อน พึงรู้อาบัติระหว่าง
อาบัติหลัง พึงรู้อาบัตินับเข้าจำนวนที่แสดงแล้ว พึงรู้อาบัติไม่นับเข้าจำนวนที่แสดงแล้ว
พึงรู้บัญญัติ พึงรู้อนุบัญญัติ พึงรู้อนุปปันนบัญญัติ พึงรู้สัพพัตถบัญญัติ พึงรู้ปเทส
บัญญัติ พึงรู้สาธารณบัญญัติ พึงรู้อสาธารณบัญญัติ พึงรู้เอกโตบัญญัติ พึงรู้อุภโต
บัญญัติ พึงรู้อาบัติมีโทษหนัก พึงรู้อาบัติมีโทษเบา พึงรู้อาบัติที่เกี่ยวกับคฤหัสถ์
พึงรู้อาบัติที่ไม่เกี่ยวกับคฤหัสถ์ พึงรู้อาบัติที่แน่นอน พึงรู้อาบัติที่ไม่แน่นอน พึงรู้
บุคคลผู้เป็นต้นบัญญัติ พึงรู้บุคคลผู้ไม่เป็นต้นบัญญัติ พึงรู้บุคคลผู้ไม่ต้องอาบัติเป็นนิจ
พึงรู้บุคคลผู้ต้องอาบัติเนือง ๆ พึงรู้บุคคลผู้เป็นโจทก์ พึงรู้บุคคลผู้เป็นจำเลย พึงรู้
บุคคลผู้ฟ้องโดยไม่เป็นธรรม พึงรู้บุคคลผู้ถูกฟ้องโดยไม่เป็นธรรม พึงรู้บุคคลผู้ฟ้อง
โดยเป็นธรรม พึงรู้บุคคลผู้ถูกฟ้องโดยเป็นธรรม พึงรู้บุคคลผู้แน่นอน พึงรู้บุคคล
ผู้ไม่แน่นอน พึงรู้บุคคลผู้ควรต้องอาบัติ พึงรู้บุคคลผู้ไม่ควรต้องอาบัติ พึงรู้บุคคลผู้ถูก
สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม พึงรู้บุคคลผู้ไม่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม พึงรู้บุคคลผู้ถูกนาสนะ
พึงรู้บุคคลผู้ไม่ถูกนาสนะ พึงรู้บุคคลผู้เป็นสมานสังวาส พึงรู้บุคคลผู้เป็นนานาสังวาส
พึงรู้การงดปาติโมกข์แล
เอกกวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :425 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] หัวข้อประจำวาร
หัวข้อประจำวาร
ธรรมที่ก่ออาบัติ และธรรมที่ไม่ก่ออาบัติ อาบัติ และอนาบัติ
อาบัติเบา และอาบัติหนัก อาบัติมีส่วนเหลือ และอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
อาบัติชั่วหยาบ และอาบัติไม่ชั่วหยาบ
อาบัติที่ทำคืนได้ และอาบัติทำคืนไม่ได้
อาบัติที่เป็นเทสนาคามินี และอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี
อาบัติที่ทำอันตราย และอาบัติที่ไม่ทำอันตราย
อาบัติที่มีโทษ และอาบัติที่ไม่มีโทษ
อาบัติที่เกิดจากการกระทำ และอาบัติที่เกิดจากการไม่ทำ
อาบัติที่เกิดจากการกระทำ และไม่กระทำ อาบัติก่อน และอาบัติหลัง
อาบัติระหว่างอาบัติก่อน และอาบัติระหว่างอาบัติหลัง
อาบัติที่นับเข้าจำนวน และอาบัติที่ไม่นับเข้าจำนวน
บัญญัติ และอนุบัญญัติ อนุปปันนบัญญัติ สัพพัตถบัญญัติ
และปเทสบัญญัติ สาธารณบัญญัติ และอสาธารณบัญญัติ
เอกโตบัญญัติและอุภโตบัญญัติ
อาบัตมีโทษหนักและอาบัติที่มีโทษเบา
อาบัติที่เกี่ยวกับคฤหัสถ์ และอาบัติที่ไม่เกี่ยวกับคฤหัสถ์
อาบัติที่แน่นอน และอาบัติที่ไม่แน่นอน
บุคคลผู้เป็นต้นบัญญัติ และบุคคลผู้ไม่เป็นต้นบัญญัติ
บุคคลผู้ไม่ต้องอาบัติเป็นนิจ และบุคคลผู้ต้องอาบัติเนือง ๆ
บุคคลผู้เป็นโจทก์ และบุคคลผู้เป็นจำเลย
บุคคลผู้ฟ้องโดยไม่เป็นธรรม และบุคคลผู้ถูกฟ้องโดยไม่เป็นธรรม
บุคคลผู้ฟ้องโดยเป็นธรรม และบุคคลผู้ถูกฟ้องโดยเป็นธรรม
บุคคลผู้แน่นอน และบุคคลผู้ไม่แน่นอน
บุคคลผู้ควรต้องอาบัติ และบุคคลผู้ไม่ควรต้องอาบัติ
บุคคลผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม และบุคคลผู้ไม่ถูกสงฆ์ลงอุปเขปนียกรรม
บุคคลผู้ถูกนาสนะ และบุคคลผู้ไม่ถูกนาสนะ
บุคคลผู้มีสังวาสเสมอกัน และบุคคลมีสังวาสต่างกัน
การงดและหัวข้อดังกล่าวนี้ จัดรวมเข้าด้วยกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :426 }