เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] 20. สมุฏฐาเปติวาร
ฟ้องร้อง การประท้วง ความคล้อยตาม การพยายามโจท การสนับสนุนในเรื่องนั้น
นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์ สงฆ์ย่อมวิวาทกันในอนุวาทาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์
เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจท ย่อมต้องอาบัติ จัดเป็น
อาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์
เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อธิกรณ์ทั้ง 4 ย่อมเกิดได้อย่างนี้
[316] ถาม : อาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ 4 อย่าง ยังอธิกรณ์อย่างไหน
ให้เกิด อาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ 4 อย่าง ไม่ยังอธิกรณ์อย่างไหนให้เกิด
ตอบ : อีกอย่าง เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย อธิกรณ์ทั้ง 4 ย่อมเกิดได้
มีอุปมาเหมือนอะไร เหมือนกองอาบัติทั้ง 5 ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ กองอาบัติทั้ง 7
ก็ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ นี้เรียกว่า อาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ย่อมวิวาทกันในอาปัตตาธิกรณ์
จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจท ย่อม
ต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์
เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย อธิกรณ์ทั้ง 4 ย่อมเกิดได้อย่างนี้
[317] ถาม : กิจจาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ 4 อย่าง ยังอธิกรณ์อย่างไหน
ให้เกิด กิจจาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ 4 อย่าง ไม่ยังอธิกรณ์อย่างไหนให้เกิด
ตอบ : อีกอย่าง เพราะกิจจาธิกรณ์ อธิกรณ์ทั้ง 4 ย่อมเกิดได้ มีอุปมา
เหมือนอะไร เหมือนความที่สงฆ์มีกรรมที่จะพึงทำ ความที่สงฆ์มีกิจที่จะต้องทำ อปโลกน
กรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์ สงฆ์
ย่อมวิวาทกันในกิจจาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็น
อนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจท ย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตาม
อาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์
เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย อธิกรณ์ทั้ง 4 ย่อมเกิดได้อย่างนี้
สมุฏฐาเปติวารที่ 20 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :417 }