เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] 19. สมถาธิกรณวาร
[312] ถาม : อธิกรณ์ระงับด้วยสมถะได้อย่างไร อธิกรณ์ไม่ระงับด้วยสมถะ
ได้อย่างไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัย และเยภุยยสิกา ไม่ระงับด้วยสติ
วินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา และติณวัตถารกะ
อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัย และตัสสปาปิยสิกา
ไม่ระงับด้วยเยภุยยสิกา ปฏิญญาตกรณะและติณวัตถารกะ
อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ปฏิญญาตกรณะ และติณวัตถารกะ
ไม่ระงับด้วยเยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย และตัสสปาปิยสิกา
กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยเยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย
ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา และติณวัตถารกะ
อธิกรณ์ระงับด้วยสมถะได้อย่างนี้ อธิกรณ์ไม่ระงับด้วยสมถะได้อย่างนี้
[313] ถาม : อธิกรณ์ระงับด้วยอธิกรณ์ได้อย่างไร อธิกรณ์ไม่ระงับด้วยอธิกรณ์
ได้อย่างไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์
แต่ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์
อนุวาทาธิกรณ์ไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่
ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์
อาปัตตาธิกรณ์ไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่
ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์
กิจจาธิกรณ์ไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่ระงับ
ด้วยกิจจาธิกรณ์
อธิกรณ์ระงับด้วยอธิกรณ์ได้อย่างนี้ อธิกรณ์ไม่ระงับด้วยอธิกรณ์ได้อย่างนี้
สมถะทั้ง 6 สมุฏฐาน อธิกรณ์ทั้ง 4 อย่าง ระงับด้วยสัมมุขาวินัย แต่สัมมุขา
วินัยไม่ระงับด้วยอะไร
สมถาธิกรณวารที่ 19 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :415 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] 20. สมุฏฐาเปติวาร
20. สมุฏฐาเปติวาร
วาระว่าด้วยอธิกรณ์ยังอธิกรณ์ให้เกิดขึ้น
[314] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ 4 อย่าง ยังอธิกรณ์อย่างไหน
ให้เกิดขึ้น บรรดาอธิกรณ์ 4 อย่าง วิวาทาธิกรณ์ไม่ยังอธิกรณ์อย่างไหนให้เกิด
ตอบ : อีกอย่าง เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อธิกรณ์ทั้ง 4 ย่อมเกิดได้
มีอุปมาเหมือนอะไร เหมือนภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมวิวาทกันว่า
นี้เป็นธรรม นี้เป็นอธรรม นี้เป็นวินัย นี้มิใช่วินัย นี้พระตถาคตได้ภาษิตไว้
ได้ตรัสไว้ นี้พระตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้ตรัสไว้ จริยาวัตรนี้พระตถาคตทรงประพฤติ
มา จริยาวัตรนี้พระตถาคตมิได้ทรงประพฤติมา นี้พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ นี้พระ
ตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ นี้อาบัติ นี้เป็นอนาบัติ นี้เป็นอาบัติเบา นี้เป็นอาบัติหนัก
นี้เป็นอาบัติที่มีส่วนเหลือ นี้เป็นอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็น
อาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง การทุ่มเถียง การกล่าวต่างกัน
การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้ม ความหมายมั่นในเรื่องนั้น นี้เรียก
ว่า วิวาทาธิกรณ์ สงฆ์วิวาทกันในวิวาทาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาทกัน
ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจท ย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์
เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อธิกรณ์ทั้ง 4 ย่อมเกิดได้อย่างนี้
[315] ถาม : อนุวาทาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ 4 อย่าง ยังอธิกรณ์อย่างไหน
ให้เกิด อนุวาทาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ 4 อย่าง ไม่ยังอธิกรณ์อย่างไหนให้เกิด
ตอบ : อีกอย่าง เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อธิกรณ์ทั้ง 4 ย่อมเกิดได้
มีอุปมาเหมือนอะไร เหมือนภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมโจทภิกษุด้วยสีลวิบัติ
บ้าง อาจารวิบัติบ้าง ทิฏฐิวิบัติบ้าง อาชีววิบัติบ้าง การโจท การกล่าวหา การ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :416 }