เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] 1. กัตถปัญญัตติวาร 4. นิสสัคคิยกัณฑ์ 3. ปัตตวรรค
2. อูนปัญจพันธนสิกขาบท
[45] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้มีบาตรที่มีรอยซ่อม
หย่อนกว่า 5 แห่ง ขอบาตรใหม่ใบอื่น ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ แคว้นสักกะ
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มีบาตรแตกเพียงเล็กน้อยบ้าง กะเทาะ
เพียงเล็กน้อยบ้าง มีรอยขูดขีดเพียงเล็กน้อยบ้าง ก็ออกปากขอบาตรใหม่เป็น
จำนวนมาก
ในอูนปัญจพันธนสิกขาบทนั้น มี 1 พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
6 สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน 6 สมุฏฐาน ฯลฯ

3. เภสัชชสิกขาบท
[46] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รับประเคนเภสัชแล้วเก็บ
ไว้เกิน 7 วัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปรับประเคนเภสัชแล้วเก็บไว้เกิน 7 วัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :41 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] 1. กัตถปัญญัตติวาร 4. นิสสัคคิยกัณฑ์ 3. ปัตตวรรค
ในเภสัชชสิกขาบทนั้น มี 1 พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ 6 สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน 2 สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน1 ฯลฯ

4. วัสสิกสาฏิกสิกขาบท
[47] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้แสวงหาผ้าอาบน้ำฝน
เมื่อฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่า 1 เดือน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสวงหาจีวรคือผ้าอาบน้ำฝน เมื่อฤดู
ร้อนยังเหลือเกินกว่า 1 เดือน
ในวัสสิกสาฏิกสิกขาบทนั้น มี 1 พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ 6
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน 6 สมุฏฐาน ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ทางที่เกิดของอาบัติเรียกว่า “สมุฏฐาน” มี 6 สมุฏฐาน คือ
1. กาย 2. วาจา
3. กายกับวาจา 4. กายกับจิต
5. วาจากับจิต 6. กายวาจากับจิต
อาบัติทั้งหมดที่เกิดในแต่ละสมุฏฐาน แบ่งเป็น 13 กลุ่ม คือ
1. ปฐมปาราชิกสมุฏฐาน 2. อทินนาทานสมุฏฐาน
3. สัญจริตตสมุฏฐาน 4. สมนุภาสนสมุฏฐาน
5. กฐินสมุฏฐาน 6. เอฬกโลมสมุฏฐาน
7. ปทโสธัมมสมุฏฐาน 8. อัทธานสมุฏฐาน
9. เถยยสัตถสมุฏฐาน 10. ธัมมเทสนาสมุฏฐาน
11. ภูตาโรจนสมุฏฐาน 12. โจริวุฏฐานาปนสมุฏฐาน
13. อนนุญญาตสมุฏฐาน
(ดูข้อ 258-270, วิ.อ. 3/258-267/423-434, กงฺขา.อ. 136-137) สิกขาบทนี้เป็นกฐินสมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐานที่ 3 คือกายกับวาจาและสมุฏฐานที่ 6 คือกายวาจากับจิต (กงฺขา.อ. 136)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :42 }