เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] 3. อาปัตติสมุฏฐานคาถา
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางกาย ทางจิตไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีอยู่ 6
ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์ ข้าพเจ้าขอบอกข้อนั้นแก่ท่าน
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางวาจา ทางจิตไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีเท่าไร
ข้าพเจ้าขอถาม โปรดบอกข้อนั้นเถิด ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางวาจา ทางจิตไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีอยู่ 6
ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์ ข้าพเจ้าขอบอกข้อนั้นแก่ท่าน
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางกาย ทางวาจา ทางจิตไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีเท่าไร
ข้าพเจ้าขอถาม โปรดบอกข้อนั้นเถิด ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางกาย ทางวาจา ทางจิตไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีอยู่ 6
ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์ ข้าพเจ้าขอบอกข้อนั้นแก่ท่าน
อาปัตติสมุฏฐานคาถาที่ 3 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :383 }


พระวินัยปิฏก ปริวาร [อันตรเปยยาล] 4. วิปัตติปัจจยวาร
4. วิปัตติปัจจยวาร
วาระว่าด้วยความวิบัติเป็นปัจจัย
[284] ถาม : เพราะสีลวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะสีลวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ 4 อย่าง คือ
1. ภิกษุณีรู้อยู่ ปกปิดธรรมคือปาราชิก ต้องอาบัติปาราชิก
2. ภิกษุณีสงสัยปกปิด ต้องอาบัติถุลลัจจัย
3. ภิกษุปกปิดอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอาบัติปาจิตตีย์1
4. ภิกษุปกปิดอาบัติชั่วหยาบของตน ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะสีลวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ 4 อย่างนี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ 4 อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ 7 อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ 4 อย่าง จัดเป็นวิบัติ 2 อย่าง คือ
(1) สีลวิบัติ (2) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ 7 กอง จัดเข้ากองอาบัติ 4 กอง คือ (1) กองอาบัติ
ปาราชิก (2) กองอาบัติถุลลัจจัย (3) กองอาบัติปาจิตตีย์ (4) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ 6 สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน 1 สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายวาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ 4 อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ 7 อย่าง ระงับด้วยสมถะ 3 อย่าง คือ (1) สัมมุขาวินัย
(2) ปฏิญญาตกรณะ (3) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ

เชิงอรรถ :
1 ดู วิ.มหา. (แปล) 2/398-399/510-5114.

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :384 }