เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
นอกนั้นแล ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการโจท
เช่นนี้ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุ
แห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นแลยืดเยื้อต่อไป การละมูลเหตุแห่งการโจท
ที่เป็นบาปนั้นย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งการโจท ที่เป็นบาปนั้น
ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป
2. เป็นผู้ลบหลู่ ตีเสมอ ฯลฯ
3. เป็นผู้ริษยา มีความตระหนี่ ฯลฯ
4. เป็นผู้โอ้อวด มีมายา ฯลฯ
5. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่วเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
6. เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนถือมั่นได้ยาก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใด เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละ
สิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุนั้นไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม
ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้
บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ในพระศาสดา ฯลฯ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อการโจท
ให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุข
แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อ
ทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลาย
พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการโจทเช่นนี้ ทั้งภายในหรือภายนอก
เธอทั้งหลาย พึงพยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นแล
ทั้งภายในหรือภายนอกนั้น ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุ
แห่งการโจทเช่นนี้ ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติ เพื่อ
ให้มูลเหตุแห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นแลไม่ยืดเยื้อต่อไป การละ
มูลเหตุแห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งการโจท
ที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย มูลเหตุแห่งการโจท 6 ประการนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :367 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
สาราณียธรรม 6 ประการ1
[274] ในหัวข้อเหล่านั้น สาราณียธรรม 6 ประการ คือ
ภิกษุในธรรมวินัย
1. ตั้งมั่นเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
2. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม ฯลฯ
3. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
4. บริโภคโดยไม่แบ่งแยกลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดย
ธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต บริโภคร่วมกับพรหมจารีทั้ง
หลาย ผู้มีศีล แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้
เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน
เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
5. มีศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ
ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิเสมอกันกับเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม
ที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน
เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
6. มีอริยทิฏฐิ อันเป็นธรรมเครื่องนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่
ผู้ทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ

เชิงอรรถ :
1 ที.ปา. (แปล) 11/324/321-322, องฺ.ฉกฺก.(แปล) 22/12/427-428

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :368 }