เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] 1. กัตถปัญญัตติวาร 4. นิสสัคคิยกัณฑ์ 2. โกสิยวรรค
ในสุทธกาฬกสิกขาบทนั้น มี 1 พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ 6
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน 6 สมุฏฐาน ฯลฯ

3. เทฺวภาคสิกขาบท
[36] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ไม่เอาขนเจียมดำล้วน 2
ส่วน ขนเจียมขาว 1 ส่วน ขนเจียมแดง 1 ส่วนมาปนแล้วให้ทำสันถัตใหม่ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ให้นำขนเจียมขาวหน่อยหนึ่งปนไว้ที่ชาย
สันถัต แล้วให้ทำสันถัตขนเจียมดำล้วนอย่างเดิม
ในเทฺวภาคสิกขาบทนั้น มี 1 พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ 6
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน 6 สมุฏฐาน ฯลฯ

4. ฉัพพัสสสิกขาบท
[37] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ใช้ให้ทำสันถัตทุกปี ณ ที่ ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปใช้ให้ทำสันถัตทุกปี
ในฉัพพัสสสิกขาบทนั้น มี 1 พระบัญญัติ 1 พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ 6 สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน 6 สมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :36 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] 1. กัตถปัญญัตติวาร 4. นิสสัคคิยกัณฑ์ 2. โกสิยวรรค
5. นิสีทนสันถตสิกขาบท
[38] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ไม่เอาสันถัตเก่า 1 คืบ
สุคตโดยรอบมาปน แล้วใช้ให้ทำสันถัตรองนั่งใหม่ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปทิ้งสันถัตแล้วพากันสมาทานอารัญญิกธุดงค์
ปิณฑปาติกธุดงค์ ปังสุกูลิกธุดงค์
ในนิสีทนสันถตสิกขาบทนั้น มี 1 พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ 6
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน 6 สมุฏฐาน ฯลฯ

6. เอฬกโลมสิกขาบท
[39] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รับขนเจียมมาแล้วเดิน
ทางไกลเกิน 3 โยชน์ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่งรับขนเจียมแล้วนำไปเกิน 3 โยชน์
ในเอฬกโลมสิกขาบทนั้น มี 1 พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ 6
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน 2 สมุฏฐาน คือ (1) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา
มิใช่เกิดทางจิต (2) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :37 }