เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] 1. กัตถปัญญัตติวาร 1. ปาราชิกกัณฑ์
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทารู้อยู่ ไม่ทักท้วงภิกษุณีผู้ต้องธรรมคือ
ปาราชิกด้วยตนเอง ไม่บอกแก่คณะ
ในปาราชิกสิกขาบทที่ 6 นั้นมี 1 พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ 6
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน 1 สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

ปาราชิกสิกขาบทที่ 7
[204] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ 7 แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาประพฤติตามภิกษุชื่ออริฏฐะผู้มีบรรพ-
บุรุษเป็นนายพรานฆ่านกแร้งที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนียกรรม
ในปาราชิกสิกขาบทที่ 7 นั้นมี 1 พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ 6
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน 1 สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน1 ฯลฯ

ปาราชิกสิกขาบทที่ 8
[205] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ 8 แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร

เชิงอรรถ :
1 ธุรนิกเขปสมุฏฐาน คือเกิดจากการทอดธุระในการแสดงอาการทางกายหรือทางวาจาว่า “เราสละเรื่องนั้น”
(ดู วิ.อ. 2/415/112) เกิดโดยสมุฏฐานที่ 6 คือ กายวาจากับจิต ธุรนิกเขปสมุฏฐาน คือสมนุภาน-
สมุฏฐานนั่นเอง (วิ.อ. 2/669-70/467, สารตฺถ.ฏีกา 2/66/116, วิมติ.ฏีกา 1/66/190)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :207 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] 1. กัตถปัญญัตติวาร รวมสิกขาบทที่มีในปาราชิกกัณฑ์
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ ทำวัตถุครบทั้ง 8 ประการ1
ในปาราชิกสิกขาบทที่ 8 นั้นมี 1 พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ 6
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน 3 สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ
ปาราชิก 8 สิกขาบท จบ

รวมสิกขาบทที่มีในปาราชิกกัณฑ์
พระมหาวีระทรงบัญญัติปาราชิกซึ่งเป็นมูลเหตุแห่งการขาดอย่างไม่ต้องสงสัย คือ
ปาราชิกสิกขาบทที่ 1 ว่าด้วยการเสพเมถุนธรรม
ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 ว่าด้วยการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้
ปาราชิกสิกขาบทที่ 3 ว่าด้วยการพรากกายมนุษย์
ปาราชิกสิกขาบทที่ 4 ว่าด้วยการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม
ปาราชิกสิกขาบทที่ 5 ว่าด้วยการยินดีการจับต้องที่บริเวณเหนือเข่าขึ้นไป
ของชาย
ปาราชิกสิกขาบทที่ 6 ว่าด้วยการปกปิดโทษ
ปาราชิกสิกขาบทที่ 7 ว่าด้วยการประพฤติตามภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรม
ปาราชิกสิกขาบทที่ 8 ว่าด้วยวัตถุ 8 มีการยินดีการจับมือของชายเป็นต้น
ปาราชิก 8 สิกขาบทนี้เป็นมูลแห่งการตัดขาดอย่างไม่ต้องสงสัย

เชิงอรรถ :
1 ทำวัตถุครบทั้ง 8 ประการ ดูรายละเอียดในเชิงอรรถ วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) 3/675/21

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :208 }