เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] 1. กัตถปัญญัตติวาร 1. ปาราชิกกัณฑ์
ตอบ : ตั้งอยู่ในสิกขากามบุคคล(ผู้ใคร่ศึกษา)
ถาม : ใครทรงเอาไว้
ตอบ : ภิกษุณีทั้งหลายผู้ทรงจำปาราชิกสิกขาบทที่ 5 ได้ทรงเอาไว้
ถาม : เป็นถ้อยคำของใคร
ตอบ : เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ถาม : ใครนำมา
ตอบ : พระเถระทั้งหลายนำสืบ ๆ กันมา
รายนามพระเถระผู้ทรงจำพระวินัยสืบกันมา
พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี พระทาสกะ พระโสณกะ
พระสิคควะ และพระโมคคัลลีบุตร รวมเป็น 5 รูป
เป็นผู้นำพระวินัยสืบ ๆ กันมาในชมพูทวีปอันมีสิริ
จากนั้น พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ คือ
พระมหินทะ พระอิฏฏิยะ พระอุตติยะ พระสัมพละ ฯลฯ
พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ รู้พระวินัย
ฉลาดในมรรค ได้ประกาศพระวินัยปิฎกไว้ในเกาะตามพปัณณิ

ปาราชิกสิกขาบทที่ 6
[203] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ 6 แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :206 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] 1. กัตถปัญญัตติวาร 1. ปาราชิกกัณฑ์
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทารู้อยู่ ไม่ทักท้วงภิกษุณีผู้ต้องธรรมคือ
ปาราชิกด้วยตนเอง ไม่บอกแก่คณะ
ในปาราชิกสิกขาบทที่ 6 นั้นมี 1 พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ 6
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน 1 สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

ปาราชิกสิกขาบทที่ 7
[204] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ 7 แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาประพฤติตามภิกษุชื่ออริฏฐะผู้มีบรรพ-
บุรุษเป็นนายพรานฆ่านกแร้งที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนียกรรม
ในปาราชิกสิกขาบทที่ 7 นั้นมี 1 พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ 6
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน 1 สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน1 ฯลฯ

ปาราชิกสิกขาบทที่ 8
[205] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ 8 แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร

เชิงอรรถ :
1 ธุรนิกเขปสมุฏฐาน คือเกิดจากการทอดธุระในการแสดงอาการทางกายหรือทางวาจาว่า “เราสละเรื่องนั้น”
(ดู วิ.อ. 2/415/112) เกิดโดยสมุฏฐานที่ 6 คือ กายวาจากับจิต ธุรนิกเขปสมุฏฐาน คือสมนุภาน-
สมุฏฐานนั่นเอง (วิ.อ. 2/669-70/467, สารตฺถ.ฏีกา 2/66/116, วิมติ.ฏีกา 1/66/190)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :207 }