เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [5. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้เครื่องประดับหู ... ใช้สร้อยสังวาล ... ใช้สร้อยคอ ... ใช้เครื่อง
ประดับเอว ... ใช้วลัย ... ใช้สร้อยตาบ .... ใช้เครื่องประดับข้อมือ ... ใช้แหวนสวม
นิ้วมือ จริงหรือ”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถา
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้เครื่องประดับหู ... ไม่พึงใช้
สร้อยสังวาล ... ไม่พึงใช้สร้อยคอ ... ไม่พึงใช้เครื่องประดับเอว ... ไม่พึงใช้วลัย ... ไม่
พึงใช้สร้อยตาบ ... ไม่พึงใช้เครื่องประดับข้อมือ ... ไม่พึงใช้แหวนสวมนิ้วมือ รูปใดใช้
ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ไว้ผมยาว
[246] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไว้ผมยาว
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กาม” ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไว้ผมยาว รูปใดไว้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไว้ผมยาวได้ 2 เดือน หรือยาวได้
2 นิ้ว”1

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ใช้แปรงหวีผมเป็นต้น
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้แปรงหวีผม ... ใช้หวีหวีผม ... ใช้นิ้วมือต่าง
หวีเสยผม ... ใช้น้ำมันผสมกับขี้ผึ้งเสยผม ... ใช้น้ำมันผสมกับน้ำเสยผม

เชิงอรรถ :
1 ถ้าภายใน 2 เดือน ผมยาวถึง 2 นิ้ว พึงตัดภายใน 2 เดือน ไม่ควรปล่อยให้ยาวเกิน 2 นิ้ว หรือ
แม้ผมจะยังไม่ยาวก็ไม่ควรปล่อยไว้เกิน 2 เดือนไปแม้แต่วันเดียว (วิ.อ. 3/246/303)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :8 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [5. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กาม” ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้แปรงหวีผม ... ไม่พึงใช้
หวีหวีผม ... ไม่พึงใช้นิ้วมือต่างหวีเสยผม ... ไม่พึงใช้น้ำมันผสมกับขี้ผึ้งเสยผม ... ไม่
พึงใช้น้ำมันผสมกับน้ำเสยผม รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ส่องดูเงาหน้า
[247] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ส่องดูเงาหน้าที่คันฉ่องบ้าง ในภาชนะ
ใส่น้ำบ้าง คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกาม” ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงดูเงาหน้าที่คันฉ่องหรือใน
ภาชนะใส่น้ำ รูปใดดู ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องภิกษุเป็นแผลที่หน้า
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นแผลที่หน้า ถามภิกษุทั้งหลายว่า “แผลของกระผม
เป็นอย่างไรขอรับ” ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “เป็นอย่างนี้ ๆ ขอรับ” ภิกษุนั้นไม่เชื่อ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาพาธเป็นปัจจัย เราอนุญาต
ให้ตรวจดูรอยตำหนิบนใบหน้าที่คันฉ่องหรือที่ภาชนะใส่น้ำได้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :9 }