เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [5. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผมเป็นไข้ ขาดสาแหรกแล้วไม่สามารถ
นำบาตรไปได้ ผมจึงขอสิกกาสมมติต่อสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ 3 ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้เป็นไข้ ขาดสาแหรกแล้วไม่
สามารถนำบาตรไปได้ ท่านขอสิกกาสมมติต่อสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงให้สิกกา
สมมติแก่ภิกษุนั้น นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้เป็นไข้ ขาดสาแหรกแล้วไม่
สามารถจะนำบาตรไปได้ ท่านขอสิกกาสมมติต่อสงฆ์ สงฆ์ให้สิกกาสมมติแก่ภิกษุ
ชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้สิกกาสมมติแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด
ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
สิกกาสมมติ สงฆ์ให้แก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
[272] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ ขาดไม้เท้าไม่สามารถจะเดินไปไหนได้
ขาดสาแหรกก็ไม่สามารถจะนำบาตรไปได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์ให้ทัณฑสิกกาสมมติ
แก่ภิกษุผู้เป็นไข้”

คำขอทัณฑสิกกาสมมติและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ทัณฑสิกกาสมมติอย่างนี้ ภิกษุเป็นไข้นั้นพึงเข้าไปหา
สงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลายแล้วนั่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :58 }