เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [5. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมเป็นไข้ขาดไม้เท้าแล้วไม่สามารถ
จะเดินไปไหนได้ กระผมจึงขอทัณฑสมมติต่อสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ 3 ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้เป็นไข้ ขาดไม้เท้าแล้วไม่สามารถ
จะเดินไปไหนได้ ท่านขอทัณฑสมมติต่อสงฆ์ สงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงให้ทัณฑสมมติ
แก่ภิกษุนั้น นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้เป็นไข้ ขาดไม้เท้าแล้วไม่
สามารถ จะเดินไปไหนได้ ท่านขอทัณฑสมมติต่อสงฆ์ สงฆ์ให้ทัณฑสมมติ แก่
ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ทัณฑสมมติแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ทัณฑสมมติ สงฆ์ให้แก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
[271] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ ขาดสาแหรกแล้วไม่สามารถนำบาตรไปได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์ให้สิกกาสมมติแก่
ภิกษุไข้”

คำขอสิกกาสมมติ1และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สิกกาสมมติอย่างนี้ ภิกษุเป็นไข้นั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์
ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลายแล้วนั่งกระโหย่ง

เชิงอรรถ :
1 สิกกาสมมติ คือ สงฆ์ประกาศอนุญาตให้ใช้สาแหรกได้เป็นกรณีพิเศษ “สาแหรก” คือ ภาชนะที่ทำด้วย
หวายสำหรับหิ้วหรือหาบ ส่วนบนทำเป็นหูหิ้ว ส่วนล่างใช้ไม้ขัดกันเป็นสี่เหลี่ยมสำหรับวางกระจาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :57 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [5. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผมเป็นไข้ ขาดสาแหรกแล้วไม่สามารถ
นำบาตรไปได้ ผมจึงขอสิกกาสมมติต่อสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ 3 ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้เป็นไข้ ขาดสาแหรกแล้วไม่
สามารถนำบาตรไปได้ ท่านขอสิกกาสมมติต่อสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงให้สิกกา
สมมติแก่ภิกษุนั้น นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้เป็นไข้ ขาดสาแหรกแล้วไม่
สามารถจะนำบาตรไปได้ ท่านขอสิกกาสมมติต่อสงฆ์ สงฆ์ให้สิกกาสมมติแก่ภิกษุ
ชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้สิกกาสมมติแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด
ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
สิกกาสมมติ สงฆ์ให้แก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
[272] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ ขาดไม้เท้าไม่สามารถจะเดินไปไหนได้
ขาดสาแหรกก็ไม่สามารถจะนำบาตรไปได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์ให้ทัณฑสิกกาสมมติ
แก่ภิกษุผู้เป็นไข้”

คำขอทัณฑสิกกาสมมติและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ทัณฑสิกกาสมมติอย่างนี้ ภิกษุเป็นไข้นั้นพึงเข้าไปหา
สงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลายแล้วนั่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :58 }