เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [12. สัตตสติก ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
กล่าวกับท่านพระสัพพกามีดังนี้ว่า “พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีแสดงวัตถุ 10
ประการในกรุงเวสาลี คือ

1. สิงคิโลณกัปปะ (เก็บเกลือไว้ในเขนง1 แล้วฉันกับอาหารรสไม่เค็มได้)
2. ทวังคุลกัปปะ (ฉันอาหารเมื่อเงาเลยเวลาเที่ยงไป 2 องคุลีได้)
3. คามันตรกัปปะ (เข้าบ้านฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนได้)
4. อาวาสกัปปะ (ทำอุโบสถแยกกันในอาวาสที่มีสีมาเดียวกันได้)
5. อนุมติกัปปะ (ทำสังฆกรรม ในเมื่อภิกษุทั้งหลายยังมาไม่พร้อม
แล้วขออนุมัติภายหลังได้)
6. อาจิณณกัปปะ (ประพฤติตามแบบที่พระอุปัชฌาย์อาจารย์เคย
ประพฤติมาได้)
7. อมถิตกัปปะ (ฉันนมสดที่แปรไปแล้ว แต่ยังไม่เป็นนมเปรี้ยวได้)
8. ชโลคิ (ดื่มสุราอ่อน ๆ ได้)
9. อทสกนิสีทนะ (ใช้ผ้ารองนั่งไม่มีชายได้)
10. ชาตรูปรชตะ (รับทองรับเงินได้)

ท่านพระสัพพกามีถามว่า “ท่านผู้เจริญ พระเถระศึกษาพระธรรมและวินัยไว้
เป็นอันมากจากพระอุปัชฌาย์ ท่านผู้เจริญ เมื่อพระเถระพิจารณาพระธรรมและวินัย
อยู่ เห็นอย่างไรว่า ‘ภิกษุพวกไหนเป็นฝ่ายธรรมวาที คือ ภิกษุชาวปราจีนหรือชาว
เมืองปาเฐยยะ”
ท่านพระสัมภูตสาณวาสีตอบว่า “ท่านผู้เจริญ เมื่อผมพิจารณาพระธรรมและ
วินัยอยู่ ก็เห็นอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุชาวปราจีนเป็นฝ่ายอธรรมวาที ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ
เป็นฝ่ายธรรมวาที’ แต่ยังชี้ขาดไม่ได้ สงฆ์น่าจะแต่งตั้งผมเข้าวินิจฉัยอธิกรณ์นี้บ้าง”
ท่านพระสัพพกามีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ เมื่อผมพิจารณาพระธรรมและวินัย
อยู่ก็เห็นอย่างนั้นว่า ‘ภิกษุชาวปราจีนเป็นฝ่ายอธรรมวาที ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ
เป็นฝ่ายธรรมวาที’ แต่ยังชี้ขาดไม่ได้ สงฆ์น่าจะแต่งตั้งผมเข้าวินิจฉัยอธิกรณ์นี้บ้าง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :411 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [12. สัตตสติก ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
พระเรวตะประกาศระงับอธิกรณ์ด้วยอุพพาหิกวิธี1
[456] ครั้งนั้น สงฆ์ประสงค์จะวินิจฉัยอธิกรณ์นี้ จึงประชุมกัน และเมื่อกำลัง
วินิจฉัยอธิกรณ์นั้นอยู่ มีเสียงเซ็งแซ่เกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีใครทราบความหมาย
แห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วได้
ลำดับนั้น ท่านพระเรวตะจึงประกาศให้สงฆ์ทราบว่า

ญัตติกรรมวาจา
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเรากำลังวินิจฉัยอธิกรณ์นี้ มีเสียง
เซ็งแซ่เกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีใครทราบความหมายแห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วได้
แม้แต่เรื่องเดียว ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงระงับอธิกรณ์เรื่องนี้ด้วยอุพพาหิกวิธี
สงฆ์จึงคัดเลือกภิกษุชาวปราจีน 4 รูป คือ ท่านพระสัพพกามี ท่านพระ
สาฬหะ ท่านพระอุชชโสภิตะ และท่านพระวาสภคามิกะ และภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ
อีก 4 รูป คือ ท่านพระเรวตะ ท่านพระสัมภูตสาณวาสี ท่านพระยสกากัณฑกบุตร
และท่านพระสุมนะ
ต่อมา ท่านพระเรวตะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ เมื่อพวกเรากำลังวินิจฉัยอธิกรณ์นี้อยู่มีเสียงเซ็งแซ่เกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด
และไม่มีใครทราบความหมายแห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึง
แต่งตั้งภิกษุชาวปราจีน 4 รูป ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะอีก 4 รูป เพื่อระงับอธิกรณ์นี้
ด้วยอุพพาหิกวิธี นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเรากำลังวินิจฉัยอธิกรณ์นี้อยู่มีเสียง
เซ็งแซ่เกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีใครทราบความหมายแห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วนั้น

เชิงอรรถ :
1 อุพพาหิกวิธี คือ วิธีระงับอธิกรณ์ ในกรณีที่ประชุมสงฆ์มีความไม่สะดวกด้วยเหตุบางอย่าง สงฆ์จึงเลือก
ภิกษุบางรูปในที่ประชุมนั้น ตั้งเป็นคณะทำงานแล้วมอบเรื่องให้นำไปวินิจฉัย (วิ.อ. 3/231/299)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :412 }