เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [12. สัตตสติก ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
จงช่วยกันวินิจฉัยอธิกรณ์นี้ ก่อนที่อธรรมจะรุ่งเรือง ธรรมจะถูกคัดค้าน สิ่งมิใช่วินัย
จะรุ่งเรือง วินัยจะถูกคัดค้าน ก่อนที่พวกอธรรมวาทีจะมีกำลัง พวกธรรมวาทีจะอ่อน
กำลัง พวกอวินยวาทีจะมีกำลัง พวกวินยวาทีจะอ่อนกำลัง
ท่านพระเรวตะรับคำของท่านพระยสกากัณฑกบุตรแล้ว
ปฐมภาณวาร จบ

2. ทุติยภาณวาร
[453] พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีพอได้ทราบข่าวว่า “ท่านพระยส-
กากัณฑกบุตรประสงค์จะรับหน้าที่วินิจฉัยอธิกรณ์นี้ กำลังหาพรรคพวก และได้
พรรคพวกแล้ว”
ครั้งนั้นแล พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลี ได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “อธิกรณ์
เรื่องนี้หยาบคายรุนแรง ทำอย่างไรพวกเราจึงจะได้พรรคพวกที่ทำให้เข้มแข็งมากกว่า
นี้เล่า”
ลำดับนั้น พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีได้ปรึกษากันต่อไปดังนี้ว่า “ท่าน
พระเรวตะรูปนี้เป็นพหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็น
บัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา
ถ้าพวกเราได้ท่านพระเรวตะมาร่วมเป็นพรรคพวก ก็จะเข้มแข็งยิ่งกว่านี้”
ต่อมา พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีจัดเตรียมสมณบริขารอย่างเพียงพอ คือ
บาตรบ้าง จีวรบ้าง ผ้าปูนั่งบ้าง กล่องเข็มบ้าง ประคดเอวบ้าง ผ้ากรองน้ำบ้าง
กระบอกกรองน้ำบ้าง
ลำดับนั้น พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีขนสมณบริขารนั้นโดยสารเรือไป
สหชาตินคร ขึ้นจากเรือ หยุดพักผ่อนฉันอาหารร่วมกันที่โคนไม้แห่งหนึ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :406 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [12. สัตตสติก ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
เรื่องพระสาฬหะ
เวลานั้น ท่านพระสาฬหะหลีกเร้นอยู่ที่สงัด เกิดความคิดคำนึงขึ้นในจิตอย่าง
นี้ว่า “ภิกษุพวกไหนที่เป็นฝ่ายธรรมวาที ภิกษุชาวปราจีนหรือชาวเมืองปาเฐยยะ”
ครั้งนั้น ขณะที่กำลังพิจารณาพระธรรมวินัย ท่านพระสาฬหะได้ปรึกษากัน
ต่อไปอีกว่า “ภิกษุชาวปราจีนเป็นฝ่ายอธรรมวาที ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะเป็นฝ่าย
ธรรมวาที”
ขณะนั้น เทวดาชั้นสุทธาวาสตนหนึ่ง ทราบความคิดคำนึงในจิตของท่านด้วย
จิต(ของตน) จึงหายไปจากเทวโลกชั้นสุทธาวาสแล้วมาปรากฏต่อหน้าท่านพระสาฬหะ
เหมือนคนมีกำลังเหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียด ได้กล่าวกับท่านพระสาฬหะดัง
นี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ดีแล้ว ดีแล้ว ภิกษุชาวปราจีนเป็นฝ่ายอธรรมวาที ภิกษุชาว
เมืองปาเฐยยะเป็นฝ่ายธรรมวาที ท่านโปรดวางตนตามความถูกต้องเถิด”
ท่านพระสาฬหะกล่าวว่า “เทวดา ทั้งในกาลก่อนและเวลานี้ อาตมาก็วางตน
ตามความถูกต้อง แต่อาตมาจะยังไม่เปิดเผยความเห็น ถ้ากระไร สงฆ์น่าจะแต่งตั้ง
อาตมา(ให้เข้าร่วมวินิจฉัย)ในอธิกรณ์นี้บ้าง”

เรื่องพระอุตตระ
[454] ต่อมา พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลี ถือสมณบริขารนั้นเข้าไป
หาท่านพระเรวตะถึงที่พัก ครั้นแล้วได้กล่าวกับท่านพระเรวตะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ
ขอพระเถระโปรดรับสมณบริขาร คือ บาตรบ้าง จีวรบ้าง ผ้าปูนั่งบ้าง กล่องเข็มบ้าง
ประคดเอวบ้าง ผ้ากรองน้ำบ้าง กระบอกกรองน้ำบ้าง”
ท่านพระเรวตะกล่าวว่า “ไม่ละคุณ เรามีไตรจีวรครบบริบูรณ์แล้ว” ไม่ปรารถนา
จะรับ
สมัยนั้น พระอุตตระมีพรรษา 20 เป็นอุปัฏฐากของท่านพระเรวตะ ครั้งนั้น
พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีได้เข้าไปหาท่านพระอุตตระถึงที่พัก ครั้นแล้วได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :407 }