เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [12. สัตตสติก ขันธกะ] 1. ปฐมภาณวาร
พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน ไม่รับทองและเงิน พวกพระสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรปล่อยวางแก้วมณีและทอง ปราศจากทองและเงิน”
ท่านทั้งหลาย ผู้ใหญ่บ้านชื่อมณีจูฬกะสามารถชี้แจงให้บริษัทนั้นเข้าใจ
ครั้นผู้ใหญ่บ้านชื่อมณีจูฬกะชี้แจงให้บริษัทนั้นเข้าใจแล้ว จึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้
มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้
มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ขอพระวโรกาส พวกข้าราชบริพาร
นั่งประชุมกันในราชบริษัท ภายในพระราชวังได้สนทนากันดังนี้ว่า ‘ทองและเงิน
สมควรแก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรหรือ พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
ยินดีทอง และเงินได้หรือ รับทองและเงินได้หรือ’
พระพุทธเจ้าข้า เมื่อบริษัทนั้นกล่าวอย่างนี้ ข้าพระองค์ได้กล่าวกับบริษัทนั้น
ดังนี้ว่า ‘นายท่านทั้งหลาย พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ ทองและเงินไม่สมควรแก่
พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรไม่ยินดีทอง
และเงิน ไม่รับทองและเงิน พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรปล่อยวางแก้วมณีและ
ทอง ปราศจากทองและเงิน
พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์สามารถชี้แจงให้บริษัทนั้นเข้าใจได้ เมื่อชี้แจง
อย่างนี้ ชื่อว่าชี้แจงตามพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ
แต่ชี้แจง ตามสมเหตุสมผล และคำกล่าวที่เหมาะแก่วาทะ1ของพระองค์จะไม่ถูก
ตำหนิบ้างหรือแม้น้อยหนึ่ง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ผู้ใหญ่บ้าน เอาเถอะ ท่านเมื่อชี้แจงอย่างนี้ชื่อว่าชี้แจง
ตามเรา ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ แต่ชี้แจงตามสมเหตุสมผล และคำกล่าวที่เหมาะ
แก่วาทะของเราจะไม่ถูกตำหนิบ้างหรือแม้น้อยหนึ่ง ผู้ใหญ่บ้าน ทองและเงินไม่สมควร
แก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรโดยแท้ พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรไม่ยินดี

เชิงอรรถ :
1 คำกล่าวที่เหมาะแก่วาทะ คือคำเดิมของพระองค์สมเหตุสมผลกับเหตุที่ผู้อื่นกล่าว หรือคำกล่าวตามคำ
ของพระองค์นั้นต่อ ๆ กัน แม้ มีประมาณน้อยจะไม่ถูกวิญญูชนตำหนิได้หรือ (วิ.อ. 3/290/180, สารตฺถ.ฏีกา
3/290/394, วิมติ.ฏีกา 2/290/247)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :398 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [12. สัตตสติก ขันธกะ] 1. ปฐมภาณวาร
ทองและเงิน ไม่รับทองและเงิน พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรปล่อยวางแก้วมณี
และทอง พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรปราศจากทองและเงิน ผู้ใหญ่บ้าน ทอง
และเงินควรแก่รูปใด แม้กามคุณ 5 ก็ควรแก่ผู้นั้น กามคุณ 5 ควรแก่รูปใด ท่านพึง
ทรงจำผู้นั้นโดยส่วนเดียวว่า ไม่มีสมณธรรม ไม่มีธรรมของเชื้อสายศากยบุตร อนึ่ง
เรากล่าวเปรียบเทียบอย่างนี้ว่า ผู้ต้องการหญ้าพึงแสวงหาหญ้า ผู้ต้องการไม้พึง
แสวงหาไม้ ผู้ต้องการเกวียนพึงแสวงหาเกวียน ผู้ต้องการรู้จักตนเองพึงแสวงหา
ตนเอง แต่เราไม่เคยกล่าวถึงทองและเงินว่า ‘เป็นสิ่งที่ควรยินดี ควรแสวงหา’ ไม่ว่า
กรณีใด ๆ”1
อาตมาผู้มีวาทะอย่างนี้ กล่าวอธรรมว่าเป็นอธรรม กล่าวธรรมว่าเป็นธรรม
กล่าวสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย กล่าววินัยว่าเป็นวินัย แต่กลับถูกกล่าวหาว่า ด่า
บริภาษอุบาสกอุบาสิกาผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ทำให้เขาหมดศรัทธา

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[449] (ท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวต่อไปว่า) “ท่านทั้งหลาย สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร ทรงห้ามทองและเงิน และ
ทรงบัญญัติสิกขาบทในกรุงราชคฤห์ อาตมาผู้มีวาทะอย่างนี้ กล่าวอธรรมว่าเป็น
อธรรม กล่าวธรรมว่าเป็นธรรม กล่าวสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย กล่าววินัยว่า
เป็นวินัย แต่กลับถูกกล่าวหาว่า ด่าบริภาษอุบาสกอุบาสิกาผู้มีศรัทธาเลื่อมใส
ทำให้เขาหมดศรัทธา”
เมื่อท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวอย่างนี้ พวกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงเวสาลี
ได้กล่าวดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านพระยสกากัณฑกบุตรรูปเดียวเท่านั้นที่เป็นพระ
สมณะเชื้อสายศากยบุตร พวกท่านทั้งหมดนี้ไม่ใช่พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร ขอ
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรจงอยู่กรุงเวสาลี พวกเราจะอุปัฏฐากท่านพระยสกากัณฑก
บุตรด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร”

เชิงอรรถ :
1 สํ.สฬา. (แปล) 18/362/415-416

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :399 }