เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [12. สัตตสติก ขันธกะ] 1. ปฐมภาณวาร
12. สัตตสติกขันธกะ
1. ปฐมภาณวาร
เรื่องภิกษุวัชชีบุตรแสดงวัตถุ 10 ประการ
[446] สมัยนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จดับขันธปรินิพพานล่วงไปได้ 100
ปี ภิกษุวัชชีบุตรทั้งหลายชาวกรุงเวสาลี แสดงวัตถุ 10 ประการในกรุงเวสาลี คือ

1. สิงคิโลณกัปปะ (เก็บเกลือไว้ในเขนง1 แล้วฉันกับอาหารรสไม่เค็มได้)
2. ทวังคุลกัปปะ (ฉันอาหารเมื่อเงาเลยเวลาเที่ยงไป 2 องคุลีได้)
3. คามันตรกัปปะ (เข้าบ้านฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนได้)
4. อาวาสกัปปะ (ทำอุโบสถแยกกันในอาวาสที่มีสีมาเดียวกันได้)
5. อนุมติกัปปะ (ทำสังฆกรรม ในเมื่อภิกษุทั้งหลายยังมาไม่พร้อม
แล้วขออนุมัติภายหลังได้)
6. อาจิณณกัปปะ (ประพฤติตามแบบที่พระอุปัชฌาย์อาจารย์เคย
ประพฤติมาได้)
7. อมถิตกัปปะ (ฉันนมสดที่แปรไปแล้ว แต่ยังไม่เป็นนมเปรี้ยวได้)
8. ชโลคิ (ดื่มสุราอ่อน ๆ ได้)
9. อทสกนิสีทนะ (ใช้ผ้ารองนั่งไม่มีชายได้)
10. ชาตรูปรชตะ (รับทองรับเงินได้)

เรื่องพระยสกากัณฑกบุตร
สมัยนั้น ท่านพระยสกากัณฑกบุตรเที่ยวจาริกอยู่ในแคว้นวัชชี ไปถึงกรุงเวสาลี
ทราบว่า ท่านพระยสกากัณฑกบุตรพักอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี

เชิงอรรถ :
1 เขนง คือ เขาสัตว์, กลักหรือกระบอกเขาควายที่นิยมใช้บรรจุดินปืน หรือสิ่งของอื่น บางทีใช้เป่าบอก
อาณัติสัญญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :393 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [12. สัตตสติก ขันธกะ] 1. ปฐมภาณวาร
สมัยนั้น ภิกษุวัชชีบุตรทั้งหลายชาวกรุงเวสาลี ในวันอุโบสถนั้น ใช้ถาดทอง
สำริดตักน้ำไว้จนเต็มท่ามกลางภิกษุสงฆ์ แล้วแนะนำพวกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุง
เวสาลี ผู้ผ่านมาผ่านไปว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงถวายรูปิยะแก่สงฆ์ หนึ่ง
กหาปณะบ้าง กึ่งกหาปณะบ้าง หนึ่งบาทบ้าง หนึ่งมาสกบ้าง สงฆ์มีธุระที่ต้องทำ
ด้วยบริขาร”
เมื่อพวกภิกษุวัชชีบุตรกล่าวอย่างนี้ ท่านพระยสกากัณฑกบุตรจึงบอกพวก
อุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงเวสาลีดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านอย่าถวายรูปิยะแก่
สงฆ์ หนึ่งกหาปณะบ้าง กึ่งกหาปณะบ้าง หนึ่งบาทบ้าง หนึ่งมาสกบ้าง ทองและเงิน
ไม่สมควรแก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรไม่ยินดี
ทองและเงิน ไม่รับทองและเงิน พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรทั้งหลายปล่อยวาง
แก้วมณีและทอง ปราศจากทองและเงิน”
พวกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงเวสาลีแม้อันท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวเตือน
อย่างนี้ ก็ยังขืนถวายรูปิยะแก่สงฆ์ หนึ่งกหาปณะบ้าง กึ่งกหาปณะบ้าง หนึ่งบาทบ้าง
หนึ่งมาสกบ้างอยู่นั่นเอง
เมื่อผ่านคืนนั้นไป พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลี ได้แบ่งเงินนั้นตามจำนวน
ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีได้กล่าวกับท่านพระยส-
กากัณฑกบุตรดังนี้ว่า “ท่านยสะ เงินจำนวนนี้เป็นส่วนแบ่งของท่าน”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีส่วนแบ่งเงิน ผมไม่
ยินดีเงิน”
ครั้งนั้น ภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ท่านพระยสกา-
กัณฑกบุตรรูปนี้ด่าบริภาษพวกอุบาสกอุบาสิกาผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ทำให้เขาไม่มีศรัทธา
เอาเถอะ พวกเราจะลงปฏิสารณียกรรม1แก่เธอ” แล้วได้ลงปฏิสารณียกรรมแก่ท่าน
พระยสกากัณฑกบุตร

เชิงอรรถ :
1 ปฏิสารณียกรรม หมายถึงการที่สงฆ์ลงโทษให้ภิกษุทั้งหลายไปขอขมาคฤหัสถ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :394 }