เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [10. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
ภิกษุณีบางพวกเมื่ออุปสมบทแล้ว ปรากฏว่าไม่มีเครื่องหมาย
เพศบ้าง สักแต่ว่ามีเครื่องหมายเพศบ้าง ไม่มีประจำเดือนบ้าง
มีประจำเดือนไม่หยุดบ้าง ใช้ผ้าซับเสมอบ้าง เป็นคนไหลซึมบ้าง
มีเดือยบ้าง เป็นบัณเฑาะก์หญิงบ้าง มีลักษณะคล้ายชายบ้าง
มีทวารหนักทวารเบาติดกันบ้าง มี 2 เพศบ้าง
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้สอบถามอันตรายิกธรรมว่า
เธอไม่มีเครื่องหมายเพศหรือจนถึงคำว่า
เธอเป็นคน 2 เพศหรือ
แล้วถามว่าเป็นโรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ
โรคลมบ้าหมู เป็นมนุษย์หรือ เป็นหญิงหรือ เป็นไทหรือ
ไม่มีหนี้สินหรือ ไม่เป็นราชภัฏหรือ บิดามารดาหรือ
สามีอนุญาตแล้วหรือ มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์แล้วหรือ
มีบาตรจีวรครบแล้วหรือ ชื่ออะไร
ปวัตตินีของเธอชื่ออะไร รวม 24 อย่าง แล้วให้อุปสมบท
ต่อมา อุปสัมปทาเปกขายังไม่ได้สอนซ้อม
เกิดความละอายท่ามกลางสงฆ์ ทรงอนุญาตให้ภิกษุณี
สอนซ้อมสตรีอุปสัมปทาเปกขาก่อน
ทรงอนุญาตให้ถืออุปัชฌาย์ในเบื้องต้น
ต่อจากนั้นจึงบอกสังฆาฏิ อุตตราสงค์
อันตราวาสก ผ้ารัดถัน ผ้าอาบน้ำแล้ว
บอกให้ยืน ณ มุมหนึ่งที่ห่างออกไป
ต่อมา ภิกษุณีโง่เขลารูปหนึ่งทำหน้าที่สอนซ้อม
พระผู้มีพระภาคทรงกำหนดว่าภิกษุณีไม่ได้รับแต่งตั้ง
ไม่ควรสอนซ้อมถามอันตรายิกธรรม
ภิกษุณีอุปสมบทในภิกษุสงฆ์ฝ่ายเดียว
ต้องอุปสมบทในภิกษุสงฆ์อื่นอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :371 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [10. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
หลังจากที่อุปสมบทในฝ่ายภิกษุสงฆ์แล้ว
พึงวัดเงาแดด บอกประมาณฤดู บอกส่วนแห่งวัน
บอกสังคีติ(ประชุมสงฆ์) บอกนิสัย 3 อกรณียกิจ 8
ต่อมา ภิกษุณีโยกย้ายที่นั่งจนล่วงเวลา
พระผู้มีพระภาคทรงให้นั่งตามลำดับพรรษา
สำหรับภิกษุณี 8 รูป ที่เหลือ
อนุญาตตามลำดับที่มาในที่ทุกแห่ง
ต่อมา ภิกษุณีไม่ปวารณากัน
ทรงกำหนดให้ภิกษุณีปวารณา
เมื่อปวารณาก็ไม่ปวารณากับภิกษุสงฆ์
ทรงกำหนดให้ปวารณาในภิกษุสงฆ์ด้วย
เกิดความชุลมุนในขณะปวารณาพร้อมกับภิกษุ
ไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีปวารณาพร้อมกับภิกษุ
ไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีปวารณากันในเวลาก่อนภัตตาหาร
ต่อมา ภิกษุณีทั้งหลายปวารณาในเวลาวิกาล
ทรงอนุญาตให้ปวารณากันเองวันหนึ่ง
วันรุ่งขึ้นจึงปวารณาในภิกษุสงฆ์
เมื่อภิกษุณีปวารณาเกิดชุลมุน ทรงอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุณี
รูปหนึ่งเป็นตัวแทนปวารณาในภิกษุสงฆ์
พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไม่ให้ภิกษุณีงดอุโบสถ
ปวารณา สอบถาม เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ขอโอกาส
โจทและให้การ แต่ทรงอนุญาตให้ภิกษุทำอย่างนั้นแก่ภิกษุณีได้
ทรงห้ามภิกษุณีโดยสารยานพาหนะ
ยกเว้นภิกษุณีผู้เป็นไข้ ทรงอนุญาตยานพาหนะที่เทียมด้วยโคเพศเมีย
ยานพาหนะที่เทียมด้วยโคเพศผู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :372 }