เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [10. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายสรงน้ำที่ท่าอาบน้ำของผู้ชาย คนทั้งหลายตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ ทำเหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงสรงน้ำที่ท่าอาบน้ำของ
ผู้ชาย รูปใดสรง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อาบน้ำที่ท่าอาบ
น้ำสตรี”
ตติยภาณวาร จบ
ภิกขุนีขันธกะที่ 10 จบ
ในขันธกะนี้มี 101 เรื่อง

รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
พระนางมหาปชาบดีโคตมีทูลขอบรรพชา
พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาต
ทรงโปรดเวไนยแล้วเสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์ไปกรุงเวสาลี
พระนางมหาปชาบดีโคตมีออกเดินทางไปกรุงเวสาลี
มีพระวรกายเปรอะเปื้อนฝุ่นธุลี ชี้แจงความประสงค์
ต่อท่านพระอานนท์ที่ซุ้มประตู(กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน)
พระอานนท์กราบทูลแจ้งต่อพระผู้มีพระภาคว่า
มาตุคามเป็นภัพพบุคคล พระนางมหาปชาบดีโคตมี
เป็นพระมาตุจฉา เป็นผู้เลี้ยงดู
พระผู้มีพระภาคทรงกำหนดครุธรรม 8 อย่าง
ที่ภิกษุณีพึงประพฤติตลอดชีวิต คือ
1. ภิกษุณีบวชได้ 100 พรรษา ต้องกราบไหว้ภิกษุแม้ที่บวชในวันนั้น
2. ไม่พึงจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :366 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [10. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
3. หวังธรรม 2 อย่าง
4. ปวารณาในสงฆ์ 2 ฝ่าย
5. ต้องครุธรรมพึงประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ 2 ฝ่าย
6. พึงแสวงหาอุปสมบทเพื่อสิกขมานาผู้ได้ศึกษาครบ 2 ปี
7. ไม่ด่าภิกษุ
8. เปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือน
การรับครุธรรม 8 อย่างนั้นเป็นการอุปสัมปทาของ
พระนางมหาปชาบดีโคตมี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถ้ามาตุคามไม่ออกบวช
สัทธรรมจะตั้งอยู่ได้ 1,000 ปี แต่เพราะมาตุคามออกบวช
สัทธรรมจะตั้งอยู่ได้เพียง 500 ปี
ความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม
เปรียบเหมือนโจรลักทรัพย์ หนอนขยอก เพลี้ย
การกำหนดให้มาตุคามผู้จะออกบวชต้องรับครุธรรม 8 อย่าง
เปรียบเหมือนการกั้นทำนบที่ขอบสระใหญ่
เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลออกไป
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้อุปสมบทภิกษุณี
ต่อมา ภิกษุณีศากิยานีทั้งหลายกล่าวว่า
พระนางมหาปชาบดีโคตมียังไม่ได้อุปสมบท
เพราะรับแต่ครุธรรม พระนางมหาปชาบดีโคตมีกราบทูล
ขอให้ภิกษุและภิกษุณีอภิวาทกันตามลำดับพรรษา
พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุทำอภิวาทมาตุคาม
ตรัสวิธีปฏิบัติในสิกขาบทที่เป็นสาธารณบัญญัติ
และไม่เป็นสาธารณบัญญัติ
ทรงแสดงหลักตัดสินพระธรรมวินัย ตรัสเรื่องปาติโมกข์
และบุคคลที่ควรยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :367 }