เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [10. ภิกขุนี ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ ในเบื้องต้น ต้องขอร้อง
ภิกษุณี จากนั้นภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม
วาจาว่า
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็น
เพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณี
ชื่อนี้ แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้
แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุณีชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีผู้มีชื่อนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย
เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ต่อมา ภิกษุณีเพื่อนของนางได้มีความคิดกันดังนี้ว่า “เราจะปฏิบัติต่อเด็กนี้อย่างไรดี”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปฏิบัติต่อเด็กนั้นเหมือน
ปฏิบัติต่อบุรุษอื่น โดยเว้นการนอนร่วมเรือน”
[433] สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งต้องอาบัติหนัก กำลังประพฤติมานัต ลำดับ
นั้น ภิกษุณีนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราจะอยู่เพียงลำพังไม่ได้ ภิกษุณีอื่นจะอยู่กับ
เราก็ไม่ได้ เราจะพึงปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุณีรูปหนึ่ง
แล้วมอบให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีนั้น”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :362 }