เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [10. ภิกขุนี ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
เริ่มดีแล้ว รูปที่เริ่มไม่ต้องอาบัติ ให้ขอโอกาสภิกษุณี แม้ขอแล้วก็เป็นอันขอดีแล้ว
รูปที่ขอก็ไม่ต้องอาบัติ ให้โจทภิกษุณี แม้โจทแล้วก็เป็นอันโจทดีแล้ว รูปที่โจทไม่ต้อง
อาบัติ ให้ภิกษุณีให้การ แม้ให้ภิกษุณีให้การแล้วก็เป็นอันทำดีแล้ว รูปที่ให้ภิกษุณี
ให้การก็ไม่ต้องอาบัติ

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์โดยสารยานพาหนะ
[429] สมัยนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ โดยสารยานพาหนะเทียมด้วยโค
เพศเมียมีบุรุษเป็นสารถีบ้าง เทียมด้วยโคเพศผู้มีสตรีเป็นสารถีบ้าง
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนชายหนุ่มหญิงสาวโดยสาร
ยานพาหนะไปเล่นน้ำในแม่น้ำคงคาและแม่น้ำมหี” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงโดยสารยานพาหนะ
รูปใดโดยสาร พึงปรับอาบัติตามธรรม”
สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งเป็นไข้ไม่สามารถเดินได้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีเป็นไข้ โดยสาร
ยานพาหนะได้”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “ยานพาหนะที่ทรงอนุญาต
นั้น เทียมด้วยโคเพศเมียหรือเพศผู้” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานพาหนะที่เทียมด้วย
โคเพศเมีย ยานพาหนะที่เทียมด้วยโคเพศผู้ ยานพาหนะที่ใช้มือลาก”1

เชิงอรรถ :
1 คนที่ลากยานพาหนะ จะเป็นบุรุษหรือสตรีก็ได้ (วิ.อ. 3/253/168)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :357 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [10. ภิกขุนี ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
เรื่องคานหาม
สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งไม่สบายอย่างหนัก เพราะยานพาหนะกระเทือน ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตวอ(และ)เปลหาม”

เรื่องหญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสี
[430] สมัยนั้น หญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสีบวชในสำนักภิกษุณี นางต้องการไป
กรุงสาวัตถี ด้วยคิดว่า “จะอุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค”
พวกนักเลงพอได้ฟังข่าวว่า “หญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสีจะเดินทางไปกรุงสาวัตถี”
จึงคอยดักแอบซุ่มอยู่ใกล้หนทาง
หญิงแพศยาอัฑฒกาสีได้ทราบว่า “มีพวกนักเลงแอบซุ่มอยู่ใกล้หนทาง” จึง
ส่งข่าวไปถึงพระผู้มีพระภาคว่า “ดิฉันต้องการจะอุปสมบท จะพึงปฏิบัติอย่างไร”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปสมบทได้แม้โดยทูต”
ภิกษุทั้งหลายจึงให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมีภิกษุเป็นทูต ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมี
ภิกษุเป็นทูต รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ”
ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมีสิกขมานาเป็นทูต ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย
ให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมีสามเณรเป็นทูต ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายใหัภิกษุณีอุปสมบทโดย
มีสามเณรีเป็นทูต ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมีภิกษุณีโง่เขลาไม่ฉลาด
เป็นทูต ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุณีอุปสมบท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :358 }