เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [10. ภิกขุนี ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
แม้ครั้งที่ 3 พระคุณเจ้าทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ ด้วยได้เห็น
ด้วยได้ยินหรือด้วยนึกสงสัย ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายอาศัยความกรุณาตักเตือนภิกษุณี
สงฆ์เถิด ภิกษุณีสงฆ์เมื่อเห็น(โทษ)ก็จะแก้ไข

เรื่องการงดอุโบสถ
[428] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายงดอุโบสถ งดปวารณาแก่ภิกษุทั้งหลาย ทำการ
สอบถาม เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ขอโอกาส โจท ให้ภิกษุทั้งหลายให้การ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงงดอุโบสถแก่ภิกษุ แม้
งดแล้วก็ไม่เป็นอันงด รูปที่งดต้องอาบัติทุกกฏ ไม่พึงงดปวารณาแก่ภิกษุ แม้งด
แล้วก็ไม่เป็นอันงด รูปที่งดต้องอาบัติทุกกฏ ไม่พึงทำการสอบถาม แม้ทำก็ไม่เป็น
อันทำ รูปที่ทำต้องอาบัติทุกกฏ ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์แก่ภิกษุ แม้เริ่มก็ไม่เป็น
อันเริ่ม รูปที่เริ่มต้องอาบัติทุกกฏ ไม่พึงขอโอกาสภิกษุ แม้ขอแล้วก็ไม่เป็นอันขอ
รูปที่ขอต้องอาบัติทุกกฏ ไม่พึงโจทภิกษุ แม้โจทก็ไม่เป็นอันโจท รูปที่โจทต้องอาบัติ
ทุกกฏ ไม่พึงให้ภิกษุให้การ แม้ให้ภิกษุให้การแล้วก็ไม่เป็นอันให้การ รูปที่ให้ภิกษุ
ให้การ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายงดอุโบสถ งดปวารณาแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ทำการ
สอบถาม เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ขอโอกาส โจท ให้ภิกษุณีให้การ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุงดอุโบสถแก่ภิกษุณี
แม้งดแล้วก็เป็นอันงด รูปที่งดไม่ต้องอาบัติ ให้งดปวารณาแก่ภิกษุณี แม้งดแล้วก็
เป็นอันงดดีแล้ว รูปที่งดไม่ต้องอาบัติ ให้ทำการสอบถาม แม้ทำแล้วก็เป็นอันทำดี
แล้ว รูปที่ทำไม่ต้องอาบัติ ให้เริ่มอนุวาทาธิกรณ์แก่ภิกษุณี แม้เริ่มแล้วก็เป็นอัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :356 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [10. ภิกขุนี ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
เริ่มดีแล้ว รูปที่เริ่มไม่ต้องอาบัติ ให้ขอโอกาสภิกษุณี แม้ขอแล้วก็เป็นอันขอดีแล้ว
รูปที่ขอก็ไม่ต้องอาบัติ ให้โจทภิกษุณี แม้โจทแล้วก็เป็นอันโจทดีแล้ว รูปที่โจทไม่ต้อง
อาบัติ ให้ภิกษุณีให้การ แม้ให้ภิกษุณีให้การแล้วก็เป็นอันทำดีแล้ว รูปที่ให้ภิกษุณี
ให้การก็ไม่ต้องอาบัติ

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์โดยสารยานพาหนะ
[429] สมัยนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ โดยสารยานพาหนะเทียมด้วยโค
เพศเมียมีบุรุษเป็นสารถีบ้าง เทียมด้วยโคเพศผู้มีสตรีเป็นสารถีบ้าง
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนชายหนุ่มหญิงสาวโดยสาร
ยานพาหนะไปเล่นน้ำในแม่น้ำคงคาและแม่น้ำมหี” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงโดยสารยานพาหนะ
รูปใดโดยสาร พึงปรับอาบัติตามธรรม”
สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งเป็นไข้ไม่สามารถเดินได้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีเป็นไข้ โดยสาร
ยานพาหนะได้”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “ยานพาหนะที่ทรงอนุญาต
นั้น เทียมด้วยโคเพศเมียหรือเพศผู้” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานพาหนะที่เทียมด้วย
โคเพศเมีย ยานพาหนะที่เทียมด้วยโคเพศผู้ ยานพาหนะที่ใช้มือลาก”1

เชิงอรรถ :
1 คนที่ลากยานพาหนะ จะเป็นบุรุษหรือสตรีก็ได้ (วิ.อ. 3/253/168)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :357 }